Page 387 - kpi20858
P. 387
345
ท่อนบนที่กองสถาปัตยกรรม ภายใต้การควบคุมของศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจี เมื่อวันที่ 20-21
เมษายน พ.ศ. 2478 ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า การพิธีนั้นได้ถูกก าหนดขึ้นก่อนและการสร้าง
อนุสาวรีย์คงมีเวลาที่กระชั้นจนเกินไป เป็นเหตุให้ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการน าหุ่นปูน
ปลาสเตอร์ทาสีเลียนแบบสัมฤทธิ์ขึ้นประดิษฐานเพื่อใช้ประกอบพิธีในวันเปิดอนุสาวรีย์เสียก่อน
ความเร่งรีบนี้มีความสอดคล้องไปกับอุดมการณ์สร้างชาติไทยของผู้น าใหม่ ในรูปลักษณ์ที่
ใหม่กว่า ทั้งนี้พบได้จากความพยายามในการปรับเปลี่ยนค่านิยมในการด ารงชีวิต วัฒนธรรม
ประเพณี ตลอดจนรูปแบบของการสร้างศิลปกรรม ซึ่งพยายามกลบสิ่งเก่าและสร้างสิ่งใหม่ให้แตกต่าง
ไปจากจารีตเดิม อาจกล่าวได้ว่าภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 บุคคล
สามัญเริ่มปรากฏมีบทบบาทในสังคมมากยิ่งขึ้น โดยสามารถมีอนุสาวรีย์เป็นอนุสรณ์วีรกรรมได้
ดังนั้นอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จึงถือเป็นอนุสาวรีย์สามัญชนรูปแรกของไทย เป็นการสร้างสัญลักษณ์
ภายใต้ผู้น าใหม่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเปลี่ยนธรรมเนียมในการสร้างอนุสาวรีย์ ที่
แต่เดิมมักเป็นอนุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ที่แสดงความงามแบบสูงส่ง มาสู่การสร้างอนุสาวรีย์
ของคนธรรมดา ที่แสดงความงามแบบสามัญมากยิ่งขึ้น
4.2.1.1.2.2 รูปแบบ
การสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี มีลักษระแบบเหมือนจริง ทว่าเป็นการออกแบบสร้างอนุสาวรีย์
ให้เป็นมนุษย์สามัญชนธรรมดา โดยปฏิเสธแนวคิดตามคติเก่า ซึ่งแต่เดิมมักสร้างรูปบุคคลที่
เคารพยกย่องด้วยภาพลักษณ์แบบเทวดามากกว่า จึงถือเป็นการปรับเปลี่ยนแนวทางการแสดงออก
ตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง โดยสามารถวิเคราะห์ถึงอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีได้ดังนี้
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา รายละเอียดผลงาน
คอร์ราโด เฟโรจี,อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัด
นครราชสีมา, ทองแดงรมด า, พ.ศ.2477
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี หล่อสัมฤทธิ์ น าเสนอภาพสตรีไว้
ผมปีก แต่งกายนุ่งผ้าจีบ ห่มสไบฉียง พร้อมสายสร้อย
และเครื่องประดับ ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายของสตรีสูงศักดิ์
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อยู่ในอาการยืน เบือนหน้า
ไปด้านซ้าย ยกมือซ้ายท้าวเอว มือขวาถือดาบยาวจรด
พื้น