Page 383 - kpi20858
P. 383
341
มุมมองและระยะ การวิเคราะห์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติ
วงศ์ทรงให้ความค านึงถึงระยะในการมองปฐมบรม
ราชานุสรณ์ทั้งในระยะไกล และใกล้ กล่าวคือความ
ค านึงถึงการมองในระยะใกล้นั้น ทรงออกแบบส่วน
รายละเอียดต่างๆ อย่างประณีต บรรจง อาทิ ลวดลาย
บนยอดพระมาลา ตลอดจนลวดลายประดับบัลลังก์ ทั้ง
ลายกระจัง และลายครุฑยุดนาค เป็นต้น ด้านความงาม
ในระยะไกลนั้น มีการก าหนดสร้างฉากบังหลัง เพื่อ
ส่งเสริมความยิ่งใหญ่ให้พระบรมรูปโดดเด่นในระยะไกล
สี และแสง-เงา การวิเคราะห์
วัสดุที่ใช้หล่อพระบรมรูป คือสัมฤทธิ์ นอกจากจะมีความ
คงทน อีกทั้งเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมในโลก
ประติมากรรมตะวันตก ยังสัมพันธ์กับความเชื่อของชาว
ไทย ด้านพิธีกรรมที่มีมาแต่ดั้งเดิม ดังเช่น การท าพิธีเท
ทองหล่อพระพุทธรูป ที่จะผสมมวลสารอันเป็นมงคล
อย่างไรก็ตามการหล่อพระบรมรูปนี้เกิดขึ้นในอิตาลี
ดังนั้นมูลเหตุของการรับสั่งให้หล่อพระบรมรูปด้วย
สัมฤทธิ์จึงสรุปได้ว่า เป็นวัสดุที่คงทน สวยงาม และเป็น
วัสดุที่ชาวสยามคุ้นชินในการใช้สร้างประติมากรรมมาช้า
นาน
ด้วยเหตุที่พระบรมรูปสร้างจากสัมฤทธิ์ ซึ่งมีสีเข้ม
ประกอบกับพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลกนั้นอยู่ภายใต้เงาของพระมาลา ดังนั้น
นายเฟโรจีจึงได้เน้นเส้นต่างๆ เพื่อความชัดเจน มีการ
เจาะพระเนตรด า และแสดงความคมชัดของเส้นขอบ
พระเนตร ตลอดจนริ้วรอยร่องบริเวณพระปรางให้ลึกขึ้น
เพื่อให้เกิดเงา ส่งผลต่อการมองเห็นส่วนต่างๆ แม้อยู่
ภายใต้เงามืดของพระมาลาก็ตาม
ที่มาภาพ: กลุ่มประติมากรรม ส านักช่างสิบหมู่