Page 380 - kpi20858
P. 380
338
พ.ศ. 2474 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จึงโปรดให้ช่างเขียน
แบบ และส่งออกไปท าจารึกยังต่างประเทศ
วันที่ 6 เม.ย. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด าเนินทรงเปิดผ้า
คลุมพระบรมราชานุสาวรีย์ อย่างไรก็ตามต่อมาในปี พ.ศ.2504 ได้มีการเสริมแท่นฐานพระบรมรา
ชานุสาวรีย์ ให้สูงขึ้นอีกราว 1 เมตร ตลอดจนเสริมฉากหลังให้สูงเด่นแลเห็นได้แต่ในระยะไกล
4.2.1.1.1.2 รูปแบบ
กระแสความนิยมศิลปะแบบสัจนิยม ยังคงได้รับการยอมรับ และถูกน ามาใช้เป็นแบบอย่าง
ในการแสดงออกทางศิลปะ การสร้างผลงานด้านประติมากรรม และอนุสรณ์สถานบุคคลส าคัญ
ดังเช่น พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น จึงมีการน าเสนอด้วยรูปแบบ
เหมือนจริง ซึ่งสามารถวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบต่างๆ ได้ดังนี้
ปฐมบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รายละเอียดผลงาน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุ
วัดติวงศ์ ผู้ออกแบบ และ
คอร์ราโด เฟโรจี ผู้ปั้น,ปฐม
บรมราชานุสรณ์ พระบาท
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลก, 2472, ประดิษฐาน
ณ เชิงสะพานปฐมบรม
ราชานุสรณ์หรือสะพาน
พุทธฯ ฝั่งพระนคร
ปฐมบรมราชานุสรณ์ น าเสนอพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในอาการประทับนั่งเหนือ
พระราชบัลลังก์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฉลองพระองค์เต็มยศกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หัน
พระพักตร์ไปทางด้านขวาของพระองค์เล็กน้อย พระหัตถ์ทั้งสองกุมพระแสงดาบ ซึ่งวางพาดบนพระเพลา พระ
บรมรูปและบังลังก์ตั้งอยู่บนแท่นฐานหินอ่อนที่ยกสูงขึ้น ที่เบื้องหลังสร้างเป็นซุ้มจระน าสกัดหลังตั้งเป็นลับแล
มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมลดหลั่น ทาสีเหลืองอ่อน ท าหน้าที่เป็นฉาก ส่งเสริมความสง่างามให้แก่พระบรมรูป
ทั้งหมดติดตั้งอยู่ที่บริเวณลานกว้างเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ