Page 375 - kpi20858
P. 375

333





                                  มุมมอง ระยะ และแสง-เงา                         การวิเคราะห์

                                                                  ความงามที่ปรากฏบนอนุสาวรีย์แห่งนี้ ต้องมองจาก
                                                                  ระยะใกล้ ผู้ออกแบบได้สร้างไว้ให้เกิดความงามทั้ง

                                                                  สี่ด้าน แต่ทว่าด้วยเหตุที่ประติมากรรมสร้างจาก
                                                                  ศิลาสลักสีเทา อีกทั้งเส้นสายที่สลักลงบนศิลานั้นยัง
                                                                  ไม่มีความชัดเจนมากพอ อย่างไรก็ตามเมื่อแสงสาด

                                                                  ส่องเข้ามา จึงท าให้เส้นที่สลักเป็นลวดลายใบหน้า
                                                                  ต่างๆ มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นสรุปได้ว่า

                                                                  อนุสาวรีย์แห่งนี้ต้องอาศัยคุณภาพของแสง เพื่อ
                                                                  ส่งเสริมการมองเห็น ตลอดจนส่งเสริมความงดงาม

                                                                  ของอนุสาวรีย์ยิ่งขึ้น


                       ตารางที่ 31 การวิเคราะห์รูปแบบ อนุสาวรีย์ คุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา โดยหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร
                       ที่มา: ผู้วิจัย


                              วัตถุประสงค์ของการสร้างอนุสาวรีย์แห่งนี้มี  4  ประการ  คือ  1.เพื่อใช้เป็นที่เก็บอัฐิของ

                       คุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา (ตลอดจนพระยามโนปกรณ์นิติธาดา) 2.เพื่อเป็นสิ่งระลึกถึงคุณหญิง

                       มโนปกรณ์นิติธาดา  ผู้ซึ่งมีความส ารวมทั้งกาย  วาจา  และใจ  เป็นที่มาของการน าเสนออนุสาวรีย์

                       เป็นหน้านางทั้ง 4 ด้าน ภาพที่ปรากฏเกิดจากการผสานความงามของตัวนางในศิลปะไทย เข้ากับ
                       ความเหมือนจริงแบบตะวันตก  ดังนั้นอนุสาวรีย์แห่งนี้จึงมีรูปแบบประติมากรรมไทยแนวตะวันตก

                       3. เพื่อใช้เป็นวัตถุอนุสาวรีย์ที่ส่งความหมายเตือนใจให้เกิดความส ารวมกาย วาจา และใจ 4. เพื่อ

                       ให้เกิดกุศล เป็นสาธารณประโยชน์แก่บุคคลทั่วไป โดยสร้างน ้าพุเป็นทานแก่ผู้กระหายน ้าที่ผ่านไป

                       มาได้  ดังนั้นการออกแบบอนุสาวรีย์แห่งนี้จึงบรรลุต่อการแสดงความหมาย  และมีคุณค่าด้าน
                       ประโยชน์ใช้สอยในคราวเดียวกัน



                       4.2.2 ประติมากรรมแบบตะวันตก

                              ประติมากรรมแบบตะวันตกแพร่หลายในประเทศสยาม  ได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นสูง

                       ก่อนเป็นล าดับแรก  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ปรากฏว่ามีการสร้าง
                       ประติมากรรมแบบตะวันตก  ซึ่งแสดงออกด้วยรูปแบบเหมือนจริง  โดยมีความค านึงถึงสัดส่วน

                       กล้ามเนื้อ  และการจัดท่างอย่างเป็นธรรมชาติ  ถูกต้อตามหลักกายวิภาค  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมากระแส

                       การสร้างประติมากรรมแบบเหมือนจริง  ซึ่งเป็นคุณลักษณะของการแสดงออกแบบศิลปะตะวันตก

                       ได้ทวีความแพร่หลาย และกลายเป็นกระบวนทัศน์หนึ่งในการแสดงออกของช่างไทยในสมัยต่อมา
   370   371   372   373   374   375   376   377   378   379   380