Page 377 - kpi20858
P. 377
335
เดิมนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เห็นควรให้มีการ
สร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกขนาดใหญ่ โดยทรงคาดการณ์ไว้ว่าราว
6 เมตร ประดิษฐานอยู่หน้าพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศน์เทพวราราม ท าการตกแต่งแก้ไข
ซ่อมแซมพระวิหารให้มีความวิจิตรบรรจงมากยิ่งขึ้น พร้อมกับท าการขยายลานเสาชิงช้า และสร้าง
ถนนขนาดใหญ่ตั้งแต่ลานเสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศน์ตรงไปบรรจบถนนราชด าเนินกลาง การคิดแบบนี้
ได้รับแรงบันดาลใจจากอนุสาวรีย์พระเจ้าวิตโตริโอ เอมานวล (Vittorio Emanuele) ในประเทศ
อิตาลี อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ได้เสนอความเห็นว่าให้
พิจารณาด้านสาธารณประโยชน์ร่วมด้วย ดังนั้นจึงมีการเสนอให้สร้างสะพานข้ามแม่น ้าเจ้าพระยา
ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างสาธารณประโยชน์อย่างสูงแก่ไพร่ฟ้า
ประชาราษฎร์แล้ว ยังสามารถพัฒนาเส้นทางการคมนาคม ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของชาติใน
อนาคตอีกด้วย ทั้งนี้มีการให้เหตุผลว่าการสร้างสะพานนั้นแสดงถึงความทันสมัย ดังเช่นนานา
ประเทศที่เจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้การสร้างสะพานยังเป็นเสมือนสิ่งเตือนใจเชิงประวัติศาสตร์
เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ในพระบรมเดชานุภาพของสถาบันกษัตริย์อีกรูปแบบหนึ่ง กล่าวคือ นอกจาก
ท าให้ประชาชนได้ตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
เมื่อครั้งที่ทรงย้ายเมืองจากธนบุรี มาสู่การสถาปนาฝั่งพระนครเป็นราชธานีแล้ว และยังเป็นวัตถุ
อนุสาวรีย์ที่สามารถใช้เป็นภาพแทนยุคสมัย ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดความศรัทธาต่อสถาบันกษัตริย์
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระกเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกประการหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชด าริเห็นชอบในแนวคิดนี้ โดยให้มีการสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกประดิษฐานไว้ที่เชิงสะพานร่วมด้วย
ด้านการบริหารจัดการทางการเงินในการสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ครั้งนี้ พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงออกประกาศบอกบุญเรี่ยไร โดยมีการกะจ านวนเงินงบประมาณที่คาด
ว่าต้องใช้จ่ายในครั้งนี้ราว 4,000,000 บาท ทั้งนี้มีการรับเงินจาก 3 ส่วน กล่าวคือ ส่วนแรกรับ
พระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
ส่วนที่สองใช้เงินแผ่นดิน ตลอดจนเงินเรี่ยไรจากประชาชนเป็นส่วนที่สาม
การออกแบบสะพานข้ามแม่น ้ามีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นผู้ด าเนินการ ทรง
เรียกประกวดแบบอย่าง โดยให้ช่างต่างชาติซึ่งเป็นผู้แทนจากบริษัทต่างๆ จ านวน 5 บริษัท เข้ามา
ตรวจดูสถานที่และสอบราคาค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสะพาน ในเดือน ธันวาคม 2471 จากการ
เสนอราคาของช่างชาวต่างชาติจากประเทศต่างๆ นั้น ฝ่ายรัฐบาลไทยได้มอบหมายให้ บริษัทดอร์
แมน ลอง จ ากัด จากประเทศอังกฤษ เข้ามาเป็นผู้สร้างสะพานเหล็กยาว 229.76 เมตร กว้าง 16.68