Page 379 - kpi20858
P. 379

337





                       พระบรมรูป  ในระหว่างการสร้างแบบพระบรมรูปอยู่นั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้
                       เสด็จมาทอดพระเนตรพระบรมรูป  ตรัสเหนือเกล้าฯ  สั่งให้หล่อพระบรมรูปดังกล่าวขึ้น  2  องค์  คือ

                       โปรดฯ  ให้หล่อขนาดใหญ่ส าหรับใช้ตั้งที่สถานปฐมบรมราชานุสสรณ์องค์หนึ่ง  กับหล่อสัมฤทธิ์

                       ขนาดเล็กโดยมีพระราชประสงค์จะทรงน าไปตั้งในพระราชมนเทียรอีกองค์หนึ่ง  ซึ่งอาจท าการหล่อ

                       ด้วยตนเอง หรืออาจมอบหมายให้ช่างในอิตาลีท า เมื่อต้นแบบเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว นายเฟ
                       โรจีได้ท าการตัดพระบรมรูปออกเป็นท่อน บรรจุลงหีบแล้วจัดส่งไปยังอิตาลี เพื่อท าการหล่อสมัฤทธิ์

                       ในการนี้ได้มอบหมายให้ห้างอิสต์เอเชียติก น าส่งพระบรมมารูปไปยังเมืองเยนัว (Genoa) ประเทศ

                       อิตาลี  มูลเหตุของการหล่อพระบรมรูปยังอิตาลีเนื่องมาจากวิทยาการด้านการสร้างงานสัมฤทธิ์

                       ขนาดใหญ่ในประเทศสยามขณะนั้นยังไม่มีความพร้อม    ฝ่ายศิลปากรสถานจึงได้มอบหมายให้
                       นายเฟโรจี  เดินทางไปอิตาลี  ในฐานะเป็นข้าราชการผู้แนะน าในทางวิชาการ  และเป็นนายช่าง

                       ผู้ตรวจการในระหว่างการหล่อพระบรมรูปในอิตาลี      ซึ่งเป็นเวลาที่ประจวบเหมาะที่  นายเฟโรจี

                       ได้รับโอกาสกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดเป็นเวลา 9 เดือนพอดี


                              เมื่อนายเฟโรจีไปถึงอิตาลีได้ท าการสอบราคาการหล่อพระบรมรูป  และค่าจัดส่ง  ในการ
                       ติดต่อครั้งนั้นมีห้างต่างๆ  ยื่นเสนอราคาการหล่อพระบรมรูปถึง  4  ห้างด้วยกัน  โดยเสนอราคาการ

                       หล่อที่ 7,500 บาท 8,500 บาท 9,900 บาท และ 11,000 บาท ในการนี้นายเฟโรจีได้เดินทางไปยัง

                       สถานที่หล่อพระบรมรูป  เพื่อพิจารณาตรวจสอบถึงความพร้อมทั้งด้านอุปกรณ์และเครื่องมือด้วย

                       ตนเอง  ในระหว่างที่นายเฟโรจีด าเนินการเรื่องหล่อพระบรมรูปสัมฤทธิ์ที่ประเทศอิตาลีอยู่นั้น  ทาง
                       ฝั่งสยามได้มีการจัดท าฐานพระบรมรูปเตรียมไว้ที่เชิงสะพานทางฝั่งพระนคร  พร้อมทั้งด าเนินการ

                       ออกแบบสร้างค าจารึกไว้ที่ฐานและลับแลด้วย  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรม

                       ราชโองการโปรดเกล้าฯ  มอบหมายให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาด ารงราชานุภาพ

                       ด าเนินการในเรื่องนี้ โดยทรงท าการเรียบเรียงค าจารึกที่เสาสะพานทั้งสองฝั่ง จารึกที่ลับแลหลังพระ
                       บรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และจารึกที่ฐานพระบรมรูป โดยมีสมเด็จพระเจ้า


                       บรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้วางรูปแบบและปรับบรรทัดหนังสือ

                              ส าหรับจารึกที่ลับแลหลังพระบรมรูปนั้น  ทรงน าพระราชด าริเดิมในพระบาทสมเด็จพระ

                       จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาใช้  กล่าวคือ  ได้ทรงพระราชด าริให้ท าค าจารึกที่ฐานพระบรมรูปทรงม้า
                       โดยวิธีเรียงความ  แบ่งท าตัวอักษรเป็น  ๒  ขนาดคือ  ตัวใหญ่ปนกับตัวเล็ก  ตามที่ทรงพระราชด าริ

                       เช่นนั้น ด้วยหวังพระราชหฤทัยว่าตัวใหญ่ให้อ่านไกล ถ้าอ่านเฉพาะตัวใหญ่จะได้ความโดยย่อ เมื่อ

                       เข้าใกล้อ่านทั้งตัวใหญ่และเล็กก็จะได้ความพิสดาร เมื่อผ่านมติที่ประชุมอภิรัฐมนตรีวันที่ 3 กันยายน
   374   375   376   377   378   379   380   381   382   383   384