Page 386 - kpi20858
P. 386
344
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ให้ท าอนุสาวรีย์ด้วยวิธีการอุปมาภาพเป็นนางฟ้าถือดาบ เนื่องเพราะ
ไม่เคยเห็นท่านผู้หญิงโม้มาก่อน ซึ่งนายเฟโรจีได้เห็นชอบด้วย จากนั้นอีกสองถึงสามวันต่อมา นาย
เฟโรจีได้ออกแบบปั้นรูปหญิงสาวผมยาวประบ่า ใส่มาลาดอกไม้สด นุ่งจีบ ห่มสไบ ยืนถือดาบ ซึ่ง
เป็นที่พอพระทัยของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตามกรมศิลปากรภายใต้การบริหารงานของผู้น าใหม่ กลับมิได้เลือกแบบดังกล่าว หากแต่
รับรองผลงานออกแบบในลักษณะที่ท าเป็นรูปหญิงสาวสามัญชน ตัดผมปีก แต่งกายด้วยเครื่องยศ
พระราชทาน ห่มสไบเฉียง อยู่ในท่ายืน มือขวากุมดาบปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวเอว หันหน้า
ไปทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร
ในการออกแบบปั้นอนุสาวรีย์นี้ มีการจ้างผู้หญิงมายืนเป็นแบบให้ คอร์ราโด เฟโรจี ได้ปั้น
กล่าวได้ว่าเป็นการศึกษาจากต้นแบบ อ้างอิงจากรูปมนุษย์โดยตรง เพื่อถ่ายทอดความเป็นมนุษย์
ธรรมดา หาใช่นางฟ้าดังที่เคยเป็นธรรมเนียมในการสร้างประติมากรรมบุคคลส าคัญดังแต่ก่อนไม่
อย่างไรก็ตามก็มิอาจปฏิเสธได้ว่า การสร้างรูปท้าวสุรนารีรูปนี้ แม้จะมีต้นแบบเป็นมนุษย์ แต่เมื่อ
พิจารณาตามความเป็นจริง ผู้ปั้นตลอดจนคนอื่นๆ มิได้อยู่ร่วมยุคร่วมสมัยกับท้าวสุรนารี ดังนั้นจึง
ไม่เคยมีผู้ใดเคยพบเห็นท่านผู้หญิงมาก่อน และอย่างไรเสียผู้ปั้นย่อมใส่ความเป็นอุดมคติเพิ่มเติม
จากต้นแบบ เพื่อให้บรรลุต่อเป้าหมายของการน าเสนอภาพหญิงชาวโคราชที่สร้างคุณูปการต่อ
ประเทศชาติด้วยความกล้าหาญร่วมด้วยไม่มากก็น้อย
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีถูกก าหนดให้หล่อขึ้นจากทองแดงรมด าสูง 185 เซนติเมตร หนัก 325
กิโลกรัม ประดิษฐานอยู่บนฐานย่อมุมไม้สิบสอง การสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี กระท าขึ้นอย่าง
รีบเร่ง รูปท้าวสุรนารีที่น าขึ้นติดตั้งในวัดเปิดอนุสาวรีย์นั้นเป็นเพียงหุ่นปูนปลาสเตอร์ทาสีเพื่อเลียน
แบบสัมฤทธิ์เท่านั้น ดังปรากฏในเอกสารหลักฐานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระ
ยานริศานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2477 ที่ทรงเล่าถึงการเสด็จไปที่ศิลปากรสถาน และได้
พบกับศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจี ที่ก าลังปั้นแบบร่างเป็นประติมากรรมขนาดเล็กหลายท่าทาง
หลายตัว ตลอดจนเอกสารการเบิกจ่ายเงินเหมาค่าแรงการถอดแม่พิมพ์รูปปั้น ลงวันที่ 7 มกราคม
พ.ศ.2477 เมื่อเปรียบเทียบกับจารึกที่ระบุวันที่แล้วเสร็จว่าเป็น วันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2477 ท าให้
สามารถสรุปได้ว่า การก่อสร้างอนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นไปด้วยความรีบเร่ง ช่วงเวลาของการร่างแบบ
และการหล่อแม่พิมพ์ ห่างกันเพียง 6 วัน ตลอดจนช่วงเวลาของการถอดแม่พิมพ์กับข้อความบน
จารึกที่มีการระบุว่าอนุสาวรีย์แล้วเสร็จ ห่างกันเพียง 8 วัน ซึ่งการด าเนินการหล่อทองแดงรมด าไม่
เพียงพอ นอกจากนี้ปรากฏหลักฐานการเบิกจ่ายเงินค่าซื้อถ่านไม้ รายการเหมาค่าแรงค่าแรงก่อ
เตาสุมหุ่น และค่าชักสูบหลอมทองเหลืองทองแดงให้เข้ากัน ตลอดจนค่าเททองหล่อรูปอนุสาวรีย์