Page 392 - kpi20858
P. 392
350
รูปทรง การวิเคราะห์
การน าเสนอรูปทรงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เฉพาะพระเศียรมีลักษณะแสดงความเหมือนจริง ที่บริเวณพระพักตร์
มีการก าหนดสัดส่วนและการสร้างมวลกล้ามเนื้อ สามารถถ่ายทอด
ได้อย่างสมจริง นอกจากนี้ คอร์ราโด เฟโรจี ยังใส่ใจในส่วน
รายละเอียดของผิวเปลือกพระเนตร ซึ่งซ้อนกันหลายชั้น อันจะน ามา
ซึ่งการแสดงอัตลักษณ์เฉพาะของบุคคล เพื่อให้เข้าใกล้ความเหมือน
จริงของต้นแบบมากที่สุด เส้นขอบพระเนตรและเส้นขอบพระโอษฐ์
เรียงเป็นระเบียบ สะท้อนถึงความอ่อนโยน และทรงมีพระเมตตา
มุมมองและระยะ การวิเคราะห์
ภาพถ่ายประติมากรรมพระเศียร หล่อด้วยปูนปลาสเตอร์ภาพนี้ ถูก
ใช้ในปี พ.ศ.2469 โดยแนบไปกับใบบอกประกาศ เพื่อจูงใจให้ผู้รับ
เกิดความต้องการน าไปสักการบูชายิ่งขึ้น การออกแบบสร้างพระ
เศียรให้ความส าคัญกับการมองได้รอบด้าน เน้นความงามแบบสาม
มิติ อย่างไรก็ตามสังเกตเห็นได้ว่า ที่พระวรกายนั้นมิได้ถูกให้ความ
ส าคัญเก็บรายละเอียดมากเท่ากับที่บริเวณพระพักตร์ สันนิษฐาน
ว่า ประติมากรต้องการเน้นให้พระพักตร์เป็นเด่น คล้ายกับงาน
จิตรกรรม เพื่อเป็นการสร้างระยะในการมองผลงาน ที่เมื่อเน้นระยะ
หน้าอย่างชัดเจนแล้ว ระยะที่อยู่ไกลออกไปย่อมถูกลดทอน
ที่มาภาพ: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ รายละเอียดลง
การสร้างประติมากรรมพระบรมรูปเหมือนชิ้นนี้ แสดงโครงสร้างของ
กระดูกและมวลกล้ามเนื้อที่บริเวณพระพักตร์ได้อย่างสมจริง ซึ่ง
แนวทางของการสร้างประติมากรรม 3 มิติ นั้นให้ความส าคัญกับ
แสงและเงาในการสร้างมิติให้แก้ชิ้นงาน ดังนั้นจากภาพท าให้พบว่า
เมื่อแสงปะทะเข้ากับชิ้นงาน สามารถพบเห็นมิติความกลมกลึงของ
กล้ามเนื้อบนพระพักตร์ ซึ่งสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างเป็น
ธรรมชาติ
ที่มาภาพ: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ตารางที่ 32 การวิเคราะห์รูปแบบพระเศียรพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยคอร์ราโด เฟโรจี
(ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี)
ที่มา: ผู้วิจัย