Page 397 - kpi20858
P. 397
355
4.2.1.2.3 ประติมากรรมรูปเหมือน โรมาโน วิเวียนี โดยคอร์ราโด เฟโรจี
(ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี)
4.2.1.2.3.1 ภูมิหลัง
คอร์ราโด เฟโรจี เป็นประติมากรชาวอิตาลี เดินทางเข้ามารับราชการในสยาม ตั้งแต่ปลาย
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 อย่างไรก็ตามต่อมาท่านได้โอนสัญชาติ
เป็นชาวสยาม และเปลี่ยนชื่อเป็น ศิลป์ พีระศรี
คอร์ราโด เฟโรจี เป็นผู้มีบทบาทส าคัญยิ่งต่อประเทศสยาม โดยเป็นผู้สร้างผลงานส าคัญ
ตลอดจนวางแนวทางการเรียนการสอนศิลปะตามหลักวิชาแบบตะวันตก มุ่งเน้นน าเสนอความ
เหมือนจริงแบบสัจนิยม ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ในสยาม ท าให้ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่ง
ศิลปะสมัยใหม่ของไทย”
ผลงานโดยรวมของท่านแสดงออกด้วยรูปแบบเหมือนจริง ทว่ามีความสง่างามแบบคลาสสิก
ทั้งนี้สันนิษฐานถึงมูลเหตุของรูปแบบที่ท่านนิยมสร้างสรรค์ผลงานได้ว่า ท่านได้รับการบ่มเพาะ
ฝึกฝนให้มีทักษะความสามารถแบบศิลปะตามหลักวิชา เกี่ยวพันกับศิลปะคลาสสิก ซึ่งมีความ
เหมือนจริง ผสานกับความสมบูรณ์แบบในลักษณะอุดมคติที่มีชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติอีกด้วย อีก
ทั้งแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานแบบเหมือนจริงเช่นนี้ ยังสอดรับกับพระราชนิยมของชนชั้นน าของ
สยาม ดังนั้นผลงานของท่านในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงมักถ่ายทอดด้วยแนวทาง
ดังที่กล่าวถึงข้างต้น
ผลงานประติมากรรมรูปเหมือนบุตรชายของศาสตราจารย์ศิลป์ ชื่อ โรมาโน วิเวียนี
(Romano Viviani) สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2473 ด้วยการหล่อปูนปลาสเตอร์ โดยได้รับแรงบันดาลใจ
จากความรักความผู้พันที่มีต่อบุตรชาย ประติมากรรมแสดงความเหมือนจริงอย่างมีชีวิตชีวา
สะท้อนการให้ความส าคัญต่อการศึกษาธรรมชาติเป็นแม่แบบ มีรูปลักษณ์ที่เป็นเหตุเป็นผล สมจริง
ประติมากรรมรูปเหมือนคุณโรมาโนในวัยเยาว์ อายุราว 1-2 ปี ห่มคลุมร่างกายด้วยผ้าขนหนูนี้
ต่อมาได้รับการหล่อด้วยสัมฤทธิ์เมื่อปี พ.ศ.2544 ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์
พีระศรี อนุสรณ์ นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมรูปคุณโรมาโนในวัยเด็กอีกชิ้นหนึ่ง สร้างขึ้นในปี พ.ศ.
2476 เป็นประติมากรรมปูนปลาสเตอร์รูปคุณโรมาโน สันนิษฐานว่ามีอายุราว 4-6 ปี ในท่ายืนเต็ม
ตัว ปัจจุบันหุ่นปูนปลาสเตอร์ถูกรักษาอยู่ที่หอประติมากรรมต้นแบบ ทว่าเป็นที่น่าเสียดายที่ไม่
ปรากฏเอกสาร หรือการบันทึกเรื่องราวหรือมูลเหตุของการสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับประติมากรรม
ทั้งสองชิ้นข้างต้น อย่างไรก็ตามจากผลงานส่วนตัวที่ท่านได้สร้างขึ้นนั้น สะท้อนให้เห็นว่า ไม่เพียง