Page 303 - kpi20858
P. 303

260





                       ทั้งการน าเสนอภาพพุทธประวัติ และนิทานอิสป จึงถือเป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพ เพื่อกระตุ้นให้เกิด
                       การใช้ปัญญาเช่นเดียวกัน


                            นิทานอีสปเรื่องสุนัขจิ้งจอกกับกา น าเสนอประเด็นเรื่องการไม่หลงเชื่อในค าสรรเสริญเยินยอ

                       จากผู้ไม่ประสงค์ดี  ในขณะที่นิทานเรื่องกระต่ายกับเต่านั้น  น าเสนอประเด็นเรื่องความประมาท
                       โดยเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองมากจนเกินไป  ส่วนเรื่องกวางกับห้วงน ้า  น าเสนอประเด็น

                       เรื่องความไม่พึงพอใจในสิ่งที่มีประโยชน์อันแสนธรรมดา   แต่กลับยกย่องความพิเศษจากสิ่งไร้

                       ประโยชน์ นอกจากนี้เรื่อง สุนัขสองตัว น าเสนอประเด็นเรื่อง การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบที่

                       แตกต่างกัน  ตามแต่ศักยภาพของบุคคลที่พึงมี  ซึ่งเกี่ยวพันถึงดุลยพินิจของผู้เป็นนายด้วย  อีกทั้ง
                       เรื่อง  สุนัขกับไก่  แลสุนัขจิ้งจอก  น าเสนอในประเด็นเรื่อง  การคิดล่อลวงผู้อื่นนั้นไม่ส่งผลดี  เพราะ

                       ย่อมมีผู้ล่วงรู้ถึงความล่อลวงนั้น และเรื่องนกอินทรีกับสุนัขจิ้งจอก น าเสนอในประเด็นเรื่อง การท า

                       ดีได้ดี ท าชั่วได้ชั่ว ในเรื่องของผลกรรมได้กระท า


                            ด้วยเหตุนี้สามารถสรุปได้ว่าแนวคิดในการสร้างจิตรกรรมที่ประอุโบสถหลังนี้มีความพิเศษ
                       เป็นอย่างมาก เพราะได้ควบรวมเอาคติพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งมีความใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา และ

                       ยังได้น าเสนอเรื่องราวในวรรณกรรมจากนิทานอีสป  เพื่อเสริมสร้างคติสอนใจให้แก่พุทธศาสนิกชน

                       ในแถบนี้ ถือเป็นพระอุโบสถที่มีแนวคิดสมัยใหม่ สอดคล้องไปกับสภาพการณ์ทางสังคมขณะนั้นที่

                       เปิดรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกอย่างมาก


                              5.1.1.1.2.2 รูปแบบ

                              ภาพจิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้  มีการแสดงออกด้วยรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกมาผสม

                       ผสาน กล่าวคือ เมื่อพิจารณาที่เรือนร่างของรูปทรงมนุษย์ พบว่า มีความพยายามแสดงกล้ามเนื้อ

                       และสัดส่วนตามหลักกายวิภาค  แม้ว่าทักษะในการวาดกายวิภาคมนุษย์จะยังไม่สมจริงและยังไม่
                       ถูกต้องนัก  ด้วยท่านมิเคยได้ฝึกเรียนกายวิภาคจากสถาบันใด  เพียงแต่อาศัยการสังเกตุและจดจ า

                       เท่านั้น  แต่เมื่อพิจารณาถึงการก าหนดสร้างอารมณ์ความรู้สึกของแต่ละบุคคลในภาพเขียนพบว่า

                       พระยาอนุศาสน์ จิตรกร มีความสามารถในการก าหนดท่าทาง และลักษณะมนุษย์ให้สอดคล้องไป

                       กับเนื้อหาที่ต้องการแสดงออกได้เป็นอย่างดี   นอกจากนี้พบว่ามีการน าแสนอระยะของภาพโดย

                       อาศัยหลักทัศนียวิทยาทั้งเชิงเส้น และแบบบรรยากาศ ตลอดจนมีความค านึงในการลงสีเพื่อก าหนด
                       แสงและเงาด้วย อย่างไรก็ตามสามารถวิเคราะห์รูปแบบของจิตรกรรมในประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้
   298   299   300   301   302   303   304   305   306   307   308