Page 306 - kpi20858
P. 306

263





                        ล าดับที่     รูปทรงสัตว์ในจินตนาการ                    การวิเคราะห์
                                                                 พระยาอนุศาสน์สามารถถ่ายทอดภาพสัตว์ใน
                                                                 จินตนาการได้อย่างน่าอัศจรรย์ ฉากตอนที่ นันโทปนัน

                                                                 ทะพญานาคยอมแพ้และเข้าสู่ร่มพระพุทธศาสนา
                                                                 พญานาคซึ่งมีลักษณะคล้ายกับมังกรในจิตรกรรม

                                                                 ตะวันตก ถูกจัดท่าทางให้ยกขาหน้าและอ้าปากกว้าง
                                                                 จนเห็นลิ้นสองแฉก ประกอบกับการก าหนดทิศทาง

                         17ค                                     ของเส้นที่บริเวณคอ ล าตัว ไปจนถึงหางของพญานาค
                                                                 ที่ขดม้วน ยิ่งส่งเสริมความรู้สึกถึงพละก าลังอัน

                                                                 มหาศาลของพญานาค อีกทั้งมีการลงสีที่พื้นหลัง
                                                                 แสดงภาพของกลุ่มก้อนเมฆสีเทาทะมึนที่มีมวลหนา

                                                                 หนัก ยิ่งส่งเสริมบรรยากาศให้เป็นฉากที่เปี่ยมไปด้วย
                                                                 พลังอ านาจของสัตว์ในจินตนาการยิ่งขึ้น


                       ตารางที่ 13 รูปทรงในงานจิตรกรรมฝาผนัง พระอุโบสถ วัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร โดยพระยาอนุศาสน์ จิตรกร
                       ที่มา: ผู้วิจัย


                              รูปทรงที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้ ประกอบด้วยรูปทรงของเทพบุตร เทพธิดา ที่ผนัง

                       ตอนบน  ซึ่งยังคงน าเสนอด้วยท่าทางแบบจิตรกรรมตามขนบนิยม  คือมีการจัดท่วงท่าเชิงนาฏ

                       ลักษณ์    ดังนั้นผนังดังกล่าวจึงมีการน าเสนอรูปทรงที่ยังคงผสมผสานลักษณะบางประการตามแบบ
                       อุดมคติ  จัดอยู่ในรูปทรงประเภทรูปทรงอุดมคติผสานความเหมือนจริง  ในขณะที่ที่ผนังตอนกลาง

                       รูปทรงของเทพตามคติพราหมณ์-ฮินดู  แม้ถูกก าหนดด้วยเทวะลักษณะ  ตามแบบแผนดั้งเดิม

                       ดังเช่น พระนนทิ เป็นพระโค พระอินทร์มีกายสีเขียว ฯลฯ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความค านึงถึงสัดส่วน

                       กล้ามเนื้อ และโครงส้รางทางกายวิภาคในลักณะเหมือนจริง เช่นเดียวกับที่ผนังตอนล่าง รูปทรงของ
                       พระพุทธเจ้า ตลอดจนรูปทรงมนุษย์ และสัตว์อื่นๆ ส่วนใหญ่มีแนวโน้มน าเสนอรูปทรงแบบเหมือน

                       จริง  ทั้งนี้มีอิสระมากกว่าผนังตอนกลาง  อย่างไรก็ตามสามารถสรุปได้ว่า  ผนังตอนกลางและ

                       ตอนล่างนั้นมีการน าเสนอรูปทรงในแบบเหมือนจริง


                              การจัดวางรูปทรงของเหล่าเทพตามคติพราหมณ์-ฮินดูนั้น มีการจัดให้นั่งเรียงแถวรอบพระ
                       อุโบสถ  เปรียบได้กับการเขียนภาพเทพชุมนุมเรียงต่อกันตามแบบแผนตามขนบ  ที่ปรากฏมาแต่

                       ดั้งเดิม  ทว่ามีความเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการน าเสนอรูปทรง  ด้วยการสร้างกล้ามเนื้อ  และแสง

                       เงา  ตลอดจนท่าทางการนั่งให้เกิดความสมจริง  แตกต่างไปจากเทพชุมนุมแบบดั้งเดิม  ที่มุ่ง

                       ถ่ายทอดความงามตามแบบอุดมคติ  เพื่อแสดงสมมุติภาวะ  กล่าวคือ  แสดงภาพของบุคคลที่มิใช่
   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310   311