Page 311 - kpi20858
P. 311
268
ล าดับที่ สีและ แสง-เงาเพื่อสร้างลักษณะผิว การวิเคราะห์
การใช้สีที่พุ่มไม้ แสดงให้เห็นถึงฝีแปรงที่ปาดป้าย
อย่างฉับพลัน ให้ความรู้สึกถึงความเป็นพุ่มใบได้ดี
กลวิธีการลงสีของพระยาอนุศาสน์ จิตรกร คล้ายกับฝี
แปรงที่ปรากฏในงานของศิลปินลัทธิอิมเพรสชันนิสม์
2ง (Impressionism) อีกทั้งมีแสงเงาชัดเจนในระยะหน้า
แต่เมื่อถึงระยะหลังร่องรอยของฝีแปรงและค่าของสี
จะถูกก าหนดให้มีขนาดที่เล็ก และพร่าเลือนลง เพื่อ
หวังผลด้านการสร้างระยะความตื้นลึกภายในภาพ
ล าดับที่ สีและ แสง-เงาเพื่อสร้างความเป็นรูปทรง การวิเคราะห์
มีการใช้สีเพื่อสร้างพื้นผิวในลักษณะต่างๆ ความโดด
เด่นของภาพจิตรกรรมที่วัดแห่งนี้พบว่า ทักษะในการ
สร้างร่องรอยยับย่นของผ้า ตลอดจนลักษณะประเภท
ของผ้า ท าได้อย่างสมจริง แม้เป็นเพียงการปาดป้ายสี
2ค
อย่างหยาบๆ ทว่ากลับแต่งแต้มร่องรอยในต าแหน่ง
แสดงจังหวะการวางค่าน ้าหนักอ่อนแก่ของสีที่
เหมาะสม สามารถจับความรู้สึกของการน าเสนอ
พื้นผิวยับย่นของเนื้อผ้าได้อย่างสมจริง
ตารางที่ 15 สี และ แสง-เงา ในงานจิตรกรรมฝาผนัง พระอุโบสถ วัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร โดยพระยา
อนุศาสน์ จิตรกร
ที่มา: ผู้วิจัย
การลงสีเพื่อสร้างค่าน ้าหนัก เกิดเป็นค่าต่างแสง-เงา ปรับเปลี่ยนรูปร่าง 2 มิติ ให้กลายเป็น
รูปทรง 3 มิติ มีปริมาตรกลมนูน อีกทั้งยังช่วยสร้างให้เกิดบรรยากาศแสดงระยะความลึกลวง
อย่างไรก็ตามในเรื่องของการก าหนดสีในภาพ พระยาอนุศาสน์ จิตรกร ยังคงค านึงถึงหลักความ
สมจริงทางธรรมชาติ ตลอดจนยังมีการยึดถือการลงสีตามเทวลักษณะที่มีมาแต่ดั้งเดิม ทว่ามี
รูปแบบที่เป็นตะวันตกมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ในการลงสีกายของเทพหรือถ่ายทอดลักษณะของเทพ
ยังคงน าเสนอตามแบบแผนดั้งเดิม เช่น พระอินทร์ต้องมีร่างกายเป็นสีเขียว พระอิศวรต้องมีกายสี
ขาว พระศอด า มีสามเนตร หรือพระนนทิเป็นโค พระทักษะเป็นแพะ พระพิฆเนศวรมีพระเศียรเป็น
ช้าง เป็นต้น แต่รูปแบบของการแสดงออกนั้นเป็นลักษณะผสานความเป็นจริง มีกล้ามเนื้อ และ
แสง-เงา แบบจิตรกรรมตะวันตก