Page 309 - kpi20858
P. 309

266





                              ผลงานจิตรกรรมที่บริเวณผนังตอนบน แสดงภาพเหล่าเทพพนม ทั้งเทพบุตร และเทพธิดา
                       ที่พื้นหลังเขียนเป็นสีฟ้าดั่งก าลังเหาะเหินอยู่บนสรวงสรวรรค์ การระบายสีฟ้าอ่อนบนผนังแห่งนี้ ถือ

                       เป็นความชาญฉลาดของท่าน  เพราะนอกจากจะสร้างระยะในความรู้สึกได้แล้วนั้น  ยังเป็นการเปิด

                       การสร้างพื้นที่ว่าง เพิ่มมวลอากาศ ลดความแออัดของรูปทรงที่มีลงได้ ถัดลงมาปรากฏมีแถบสีฟ้า

                       ซึ่งตกแต่งด้วยลวดลายเฟื่องอุบะ  โดยรอบพระอุโบสถ  ท าหน้าที่คั่นแบ่งระหว่างผนังตอนบน  และ
                       ผนังตอนกลาง  ซึ่งเป็นพื้นที่แสดงภาพเหล่าเทพตามคติพราหมณ์-ฮินดู  และพระโพธิสัตว์หลาย

                       พระองค์    การลงสีเหล่าเทพนั้น  มีลักษณะที่หนักกว่าผนังส่วนบน  มีการก าหนดสีน ้าตาลเข้มเป็น

                       พื้นที่ระยะหลังของเหล่าเทพ เพื่อขับเน้นรูปทรงของเหล่าเทพให้โดดเด่นยิ่งขึ้น

                              จิตรกรรมแห่งนี้โดดเด่นด้วยกลวิธีของการน าเสนอ พระยาอนุศาสน์ จิตรกร ได้เขียนสีน ้ามัน

                       บนผนังปูน  เป็นกลวิธีใหม่ที่ไม่ปรากฏว่าเป็นวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเท่าใดนัก  ซึ่งพระยา

                       อนุศาสน์ จิตรกร อาจเป็นจิตรกรชาวสยามท่านแรกที่ใช้เทคนิคสีน ้ามันบนฝาผนังปูน ซึ่งต่างไปจาก

                       จิตรกรรมตามขนบนิยมที่มักเขียนภาพจิตรกรรมด้วยสีฝุ่น  ด้วยเหตุนี้ท าให้ผลงานของท่านมีความ

                       พิเศษอย่างยิ่ง  เมื่อกล่าวถึงมูลเหตุของการใช้สีน ้ามันนั้นอาจสันนิษฐานได้ว่า  สีน ้ามันได้รับความ
                       นิยมในหมู่จิตรกร ทว่าส่วนใหญ่ใช้สร้างบนผืนผ้าใบ เช่น ผลงานของ พระสรลักษณ์ลิขิต หรือแนม

                       สุวรรณแพทย์  เป็นต้น  ประกอบกับจากการที่พระยาอนุศาสน์  จิตรกร  มีความสนใจในรูปแบบการ

                       แสดงออกแบบใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตก  ดังนั้นท่านจึงอาจมีความสนใจในกลวิธี  และ

                       วัสดุอุปกรณ์ที่จิตรกรชาวตะวันตกใช้สร้างสรรค์ด้วย  น าไปสู่การคิดค้นวิธีการจนเกิดความช านาญ
                       เมื่อพิจารณาถึงการใช้สี  และแสง-เงาของภาพจิตรกรรมที่พระอุโบสถวัดสามแก้ว  สามารถกล่าวถึง

                       ในรายละเอียดได้ ดังนี้



                                                          สี และแสง-เงา

                        ล าดับที่  สีและ แสง-เงาเพื่อสร้างความเป็นรูปทรง        การวิเคราะห์


                                                                 ผนังตอนพิเศษ ด้านฝั่งตรงข้ามพระประธาน แสดง

                                                                 ภาพฉากตอน พระแม่ธรณีบันดาลน ้าท่วมท้นเหล่า
                                                                 มาร ภาพพระแม่ธรณีแสดงให้เห็นถึงการก าหนดค่า
                          7ก                                     แสงเงาอย่างชัดเจน ดังเช่นที่ใบหน้า และที่ผ้านุ่งของ

                                                                 พระแม่ธรณี มีการเขียนภาพโดยใช้ค่าน ้าหนักอ่อนใน
                                                                 ส่วนของแสง ตัดกับสีเข้มในส่วนของเงา ก่อให้เกิด

                                                                 ปริมาตรกลมกลึงแก่รูปทรง
   304   305   306   307   308   309   310   311   312   313   314