Page 313 - kpi20858
P. 313
270
ได้ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ ผู้กอบกู้เอกราชให้แก่ชนชาวสยาม สร้างความ
เชื่อมั่นในสถาบันกษัตริย์ เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางสังคมของสยามในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม
เมื่อพิจารณาถึงมูลเหตุของการสร้างผลงานจิตรกรรมพระราชพงศาวดารของพระยาอนุศาสน์ จิตรกร
อีกประการหนึ่งพบว่า ผลงานของท่านมักมีความสัมพันธ์กับบทวรรณกรรมต่างๆ ดังนั้นสันนิษฐาน
ได้ว่า ด้วยเหตุที่พระยาอนุศาสน์ จิตรกร นั้นมีโอกาสได้ถวายงานรับใช้ใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระ
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงทรงตระหนักในความส าคัญของงานด้านศิลปวัฒนธรรมทุก
แขนง โดยเฉพาะงานด้านวรรณกรรม ซึ่งเป็นกระแสความนิยมในสังคมชั้นสูงของสยามขณะนั้น
ประกอบกับบุคคลส าคัญแห่งยุค คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ ทรงมี
พระปรีชาสามารถด้านประวัติศาสตร์และวรรณกรรม ตลอดจนความสามารถและความมีใจรักใน
งานด้านวรรณกรรมของพระยาอนุศาสน์ จิตรกรเอง อาจเป็นหนึ่งในมูลเหตุของการสร้างงาน
จิตรกรรมเพื่อประกอบเรื่องราวโดยมีงานวรรณกรรมเป็นภูมิหลังอีกประการหนึ่ง
การสร้างภาพจิตรกรรมแห่งนี้ พระยาอนุศาสน์ จิตรกรได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะอย่างสูง
สันนิษฐานว่ามีการก าหนดวางแผนการสร้างจิตรกรรมในราวปี พ.ศ.2472 จากนั้นในปี พ.ศ.2473
จึงได้กราบทูลปรึกษาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ ซึ่งพระองค์ได้กะ
เรื่องที่จะเขียนในแต่ละผนังแก่พระยาอนุศาสน์ จิตรกร จนกระทั่งในปี พ.ศ.2474 จึงสร้างจิตรกรรม
เสร็จสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามด้วยระยะทางและช่องทางการคมนาคมที่ยังไม่เอื้อต่อการเดินทางมาก
นัก ท าให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานเรือปิกนิกแก่พระยาอนุศาสน์ เพื่อ
ใช้เดินทาง รวมทั้งใช้เป็นที่พักแรมพร้อมกัน
ในเบื้องต้นพระยาอนุศาสน์ได้เข้าส ารวจพื้นที่ และกราบทูลมายังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์
เธอ พรมพระยาด ารงราชานุภาพ ว่าประกอบด้วยฝาผนัง 20 ห้อง และได้ปรึกษาเรื่องจะเขียนภาพ
ฉากตอนพระนเรศวรทรงกระท ายุทธหัตถีไว้ที่ผนังตรงข้ามพระประธานในวิหาร ซึ่งสมเด็จพระเจ้า
บรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพทรงเห็นควรเช่นนั้น พร้อมกันนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยาด ารงราชานุภาพ ได้แนะน าวิธีเขียนภาพโดยกล่าวว่า ให้เขียนแบบร่างลง
กระดาษเสียก่อนแล้วจึงเขียนลงผนัง เมื่อประกอบกับค าสัมภาษณ์ของ จีระ จิตรกร ที่ได้รับฟังมา
จากพี่ชาย ซึ่งร่วมเดินทางไปช่วยบิดาคือ พระยาอนุศาสน์ จิตรกรด้วย โดยท่านได้กล่าวว่า พระยา
อนุศาสน์ได้ร่างแบบขนาดเล็ก ตีตารางเป็นเส้นตั้งและเส้นนอน จากนั้นน ามาขยายเป็นขนาดที่
ใหญ่ขึ้นบนกระดาษไขหรือกระดาษลอกลาย ท าการปรุลายด้วยเข็ม ซึ่งท่านได้มีโอกาสเห็นเป็น
ม้วนในวัยเด็ก เมื่อน ามาทาบบนผนังแล้วตบด้วยฝุ่นดินสอพอง จะเกิดภาพร่างลายเส้นบนผนัง พอให้