Page 307 - kpi20858
P. 307
264
มนุษย์ธรรมดา นอกจากนี้ภาพที่มองจากมุมสูงแบบตานกมองแบบจิตรกรรมตามขนบนิยม กลับ
ถูกปรับให้เป็นมุมมองให้อยู่ในระดับสายตาแบบปกติ ที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้โดยทั่วไป อาศัย
หลักการทางทัศนียวิทยาสร้างมิติความลึกให้แก่ภาพ การน าเสนอมุมมองภายในภาพจิตรกรรม
ส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึกเชิงจิตวิทยา อีกทั้งมุมมองยังสัมพันธ์กับการสร้างระยะ ซึ่งเป็นการสร้าง
ความลึกลวงบนผิวระนาบแบบ 2 มิติได้ อย่างไรก็ตามสามารถวิเคราะห์ มุมมอง และระยะภายใน
ผลงานจิตรกรรมฝาผนังที่วัดแห่งนี้ได้ดังต่อไปนี้
มุมมองและการสร้างระยะ
ล าดับที่ การน าเสนอมุมมอง การวิเคราะห์
การน าเสนอมุมมองของภาพจิตกรรมในระดับสายตา
แบบปกติ ท าให้ผู้ชมภาพเกิดความใกล้ชิดทางความรู้สึก
และเกิดความคล้อยตามกับเหตุการณ์นั้นๆ ประหนึ่งว่าได้
เป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้า ภาพ
พระพุทธเจ้าโปรดอาฬวกยักษ์ อาฬวกยักษ์ถวายอาฬวี
13ค
ราชกุมาร ผู้ชมปะทะกับอาฬวีราชกุมาร ที่ส่งสายตา
ออกมานอกภาพ ชี้ชวนให้ผู้ชมกลายเป็นส่วนหนึ่งในฉาก
ตอนดังกล่าว ซึ่งการมองสบตาเช่นนี้เป็นลักษณะหนึ่งที่ใช้
ในการสร้างงานจิตรกรรมแบบตะวันตกมาช้านาน
ล าดับที่ การสร้างระยะ การวิเคราะห์
ฉากตอนนางจิญจมานวิกา กล่าวหาพระพุทธเจ้าว่าท าให้
นางตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอาคาร อาสนะ
บัลลักงก์ ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่ง และที่บริเวณพื้นมีเส้น
ตาราง ตลอดจนเสาสี่เหลี่ยม และหน้าต่างของอาคาร พระ
ยาอนุศาสน์ จิตรกรถ่ายทอดโดยอาศัยหลักการสร้างความ
15ค ลึกลวงด้วยทัศนียวิทยาเชิงเส้น ทั้งนี้มีการแสดงทัศนีย
วิทยาแบบบรรยากาศร่วมด้วย ดังปรากฏที่สถาปัตยกรรม
ในกรอบหน้าต่างที่ระยะหลัง ที่สีของสถาปัตยกรรม
ดังกล่าวถูดลดค่าของสีลง จนเกิดความพร่าเลือน อีกทั้งมี
การสร้างระยะด้วยการลดหลั่นขนาดของรูปทรงลงในระยะ
หลังอีกด้วย