Page 305 - kpi20858
P. 305

262





                        ล าดับที่         รูปทรงมนุษย์                          การวิเคราะห์

                                                                 ตอนพระพุทธเจ้าโปรดท้าวพกาพรหม ตามพุทธประวัติ
                                                                 ครั้งหนึ่งท้าวพกาพรหมอวดอ้างอ านาจของตนว่าไม่มี

                                                                 สิ่งใดลบเร้นจากทิพยจักษุของตนได้ พระพุทธองค์ทรง
                                                                 ท าปาฏิหาริย์ และทรงแสดงพระธรรมเทศนา ท้าวพกา
                                                                 พรหมจึงตั้งใจฟังธรรมเทศนาจนได้บรรลุเป็นพระ

                         18ค                                     โสดาบัน จากภาพที่ใบหน้าท้าวพกาพรหม แสดง
                                                                 อารมณ์ผ่านสีหน้าอันเศร้าสลด ท่าทางการนั่งสะท้อน

                                                                 ความสิ้นหวังได้อย่างสมจริง ซึ่งต่างจากจิตรกรรมแบบ
                                                                 ขนบนิยมดั้งเดิม ที่แสดงความเศร้าโศกผ่านการจัด

                                                                 ท่าทางเชิงนาฏลักษณ์ ทว่าไม่ปรากฏที่สีหน้าของตัว

                                                                 ละคร

                        ล าดับที่          รูปทรงสัตว์                          การวิเคราะห์




                                                                 นิทานอีสปเรื่องกระต่ายกับเต่า แสดงภาพกระต่าย
                                                                 ก าลังกระโดด และเต่าที่เดินเยื้องย่าง รูปทรงทั้งสอง

                                                                 น าเสนอได้อย่างสมจริงตามธรรมชาติ การจัดวาง
                          2ง                                     ทิศทางของรูปทรงกระต่ายในลักษณะเส้นเฉียง สร้าง

                                                                 ความรู้สึกเคลื่อนที่อย่างเร็วได้เป็นอย่างดี ด้านรูปทรง
                                                                 ของเต่านั้นพระยาอนุศาสน์จิตรกร สามารถถ่ายทอด
                                                                 รูปทรงได้อย่างสมจริง




                                                                 นิทานอีสป เรื่อง กวางกับห้วงน ้า แสดงภาพกวาง
                                                                 ก าลังยืนอยู่ในล าธาร ปรากฏสิงโตเดินย่องอยู่ที่

                                                                 ด้านหลัง พระยาอนุศาสน์ จิตรกร สามารถจัดอาการ
                                                                 ของสิงโตที่ก าลังเดินย่อง และซุ่มดูกวางที่ธารน ้า หวัง

                          3ง                                     จะตะครุบเหยื่อ ตลอดจนความพยายามถ่ายทอด
                                                                 ลักษณะทางกายภาพของกวาง และเงาของกวางที่
                                                                 สะท้อนบนผิวน ้า สั่นสะเทือนจนเกิดระลอกน ้าได้

                                                                 อย่างสมจริง แม้รูปทรงของสิงโต และกวางยังไม่
                                                                 เหมือนจริงมากนัก ทว่าในด้านการถ่ายทอดอารมณ์
                                                                 ด้วยการก าหนดท่าทางนั้นท าได้เป็นอย่างดี
   300   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310