Page 298 - kpi20858
P. 298

255





                              การน าเสนอเรื่องราว  มิได้จัดล าดับอย่างเคร่งครัด  ในช่วงต้นมีเนื้อหาที่เรียงร้อยตาม
                       ล าดับ  ทั้งนี้มีการเริ่มเรื่องราวตั้งแต่  พระพุทธเจ้าทรงบ าเพ็ญทุกรกิริยา  ทรมาน  ซึ่งต่อไปมีการ

                       แสดงพุทธประวัติในฉากตอนต่างๆ ที่ปรากฏบนผนังตอนล่างทั้ง 4 ด้าน ในพุทธประวัติดังกล่าว

                       ปรากฏฉากตอนส าคัญที่แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้าชนะมารทั้ง 8 ครั้ง

                              เหตุแห่งการน าเสนอเรื่องราวตามคติพราหมณ์ผสมผสานกับคติพุทธนั้น  สืบเนื่องมาจาก

                       คติความเชื่อแบบพราหามณ์ผูกพันกับสังคมสยามมาแต่ครั้งโบราณกาล  ทั้งพระราชพิธีที่เกี่ยวข้อง

                       กับราชส านัก ตลอดจนความเชื่ออื่นๆ ของชาวสยามที่คติพราหมณ์-ฮินดู สนิทแนบแน่นอยู่ในสังคม

                       ของชาวพุทธ     เมื่อพิจารณาประกอบกับค าบันทึกที่ปรากฏบนผนังด้านหลังพระประธานในพระ
                       อุโบสถ ซึ่งเขียนเอาไว้ว่า “ขออุทิศกุลศลนี้ถวายแด่ สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระ

                       มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว”  จึงสะท้อนให้เห็นว่าวัตถุประสงค์ที่ส าคัญอีกประการหนึ่งของการสร้าง

                       จิตรกรรมประดับผนังแห่งนี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

                       ผู้ซึ่งมีพระราชนิยมชื่นชมวรรณกรรมที่รับอิทธิพลจากคติพราหมณ์  และสิ่งนี้อาจเป็นแรงบันดาลใจ

                       ให้พระยาอนุศาสน์  จิตรกร  เลือกที่จะเขียนภาพเทพตามคติพราหมณ์  และพระประวัติของพระ
                       พุทธเจ้าตามคติพุทธ  ร่วมกันในพระอุโบสถวัดสามแก้ว  ทั้งนี้นอกเหนือจากวัดสามแก้วแห่งนี้  พระ

                       ยาอนุศาสน์จิตรกร  ได้เคยเขียนภาพเทพชุมนุมตามคติพราหมณ์-ฮินดูมาแล้ว  ที่พระที่นั่งพิมาน

                       ปฐม  พระราชวังสนามจันทร์  และวิหารที่วัดพระปฐมเจดีย์  เมื่อครั้งยังรับราชการถวายงานใน

                       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

                              ผนังด้านล่าง (ง) บริเวณพื้นที่ว่างด้านข้างประตูและหน้าต่าง หรือบริเวณผนังรักแร้ คือมุม

                       ของอาคารทั้ง 4 ด้าน แม้เป็นพื้นที่ซึ่งมีขนาดเล็กและแคบ พระยาอนุศาสน์ ยังใส่ใจในรายละเอียด

                       ส่วนนี้ มิได้ปล่อยพื้นผนังว่างเปล่าไร้ประโยชน์ ทั้งนี้พระยาอนุศาสน์ จิตรกร ได้ใช้พื้นที่ส่วนนี้แสดง
                       ภาพเหล่าสิงสารราสัตว์  ซึ่งมีที่มาจากนิทานอุปมานิทัศน์  จากการส ารวจเบื้องต้นสามารถตั้งข้อ

                       สันนิษฐานได้ว่า เป็นตัวละครในนิทานอีสป


                              เมื่อกล่าวถึงนิทานอีสปนั้น เกิดจากนักเล่านิทานชาวกรีกชื่อ อีสป (Aesop) มีชีวิตราว 620-

                       564  ปีก่อนคริสตกาล  ซึ่งปรากฏกว่าได้ประพันธ์นิทานกว่าพันเรื่อง  เพื่อสร้างคติสอนใจผ่านตัว
                       ละครที่มักเป็นสัตว์ กสิกร และเทพเจ้า   ไม่ปรากฏว่าหลักฐานอย่างแน่ชัดว่า นิทานอิสปถูกเผยแพร่

                       เข้ามาในสยามเมื่อใด ทว่านิทานอีสปได้เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวสยามอย่างมากในชื่อหนังสือ “อิศปปรณัม”

                       ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปล และพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต 4 เรื่อง คือ

                       ราชสีห์กับหนู บิดากับบุตรทั้งหลาย สุนัขป่ากับลูกแกะ และกระต่ายกับเต่า นอกเหนือจาก 4 เรื่อง
                       ดังกล่าวข้างต้นเป็นการท างานร่วมกันในหมู่นักปราชญ์คนส าคัญของยุคสมัย  ได้แก่  พระเจ้าบรม
   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303