Page 223 - kpi20858
P. 223

180






                              นอกเหนือจากงานราชการ สันนิษฐานว่าเมื่อท่านว่างเว้นจากการท างานและงานสอนแล้ว
                       นั้น  ตามวิสัยของศิลปินที่เป็นประติมากร  จึงเกิดมีความต้องการปั้นผลงานเพื่อความผ่อนคลาย

                       ด้วยเหตุนี้ การสร้างรูปเหมือนบุคคลอันเป็นที่รักจึงเกิดมีขึ้น ดังเช่น ประติมากรรมรูปคุณมาลินี หรือ

                       ประติมากรรมรูปเหมือนคุณโรมาโน  วิเวียนี  บุตรชาย  ทั้งนี้เมื่อกล่าวถึงประติมากรรม  “โรมาโน  วิ

                       เวียนี” ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2473 เป็นรูปเฉพาะศีรษะถึงหัวไหล่ คุณโรมาโนได้กล่าวถึงว่า “ผมเกิด
                       ที่กรุงเทพ หลังจากที่คุณพ่อได้เดินทาง มายังสยามประเทศ เมื่อพุทธศักราช 2467 ที่เห็นนี่เป็นรูป

                                                                                       337
                       ปั้นตัวผมเอง ผมเพิ่งออกมาจากห้องน ้า  เห็นได้ว่าที่ไหล่มีผ้าเช็ดตัวคลุมอยู่”

                              ประติมากรรมรูปเหมือนคุณโรมาโนวัยเยาว์ เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งสร้างขึ้นจากความรักที่บิดา
                       มีต่อบุตร อีกทั้งพบว่ามีประติมากรรมรูปคุณโรมาโนในวัยเด็กอีกชิ้นหนึ่ง  เป็นประติมากรรมปลาสเตอร์

                       รูปคุณโรมาโนในท่ายืนเต็มตัว  ทว่าเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ไม่มีเอกสารซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้าง

                       ผลงานของศาสตราจารย์เฟโรจี  อย่างไรก็ตามจากผลงานส่วนตัวที่ท่านได้สร้างขึ้นนั้น  สะท้อนให้

                       เห็นว่า  ไม่เพียงผลงานราชการเท่านั้น  การสร้างผลงานส่วนตัว  ยังได้ยึดถือธรรมชาติเป็นแม่แบบ

                       และเคร่งครัดต่อการก าหนดสร้างรูปทรง สัดส่วน และกายวิภาคตามลักษณะเหมือนจริงอีกด้วย


                       4.2.3 เหรียญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

                              เหรียญตราสัญลักษณ์ต่างๆ  ถือเป็นประติมากรรมนูนต ่ารูปแบบหนึ่ง  การสร้างเหรียญที่

                       ระลึกปรากฏในประวติศาสตร์ไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2507 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม

                       เกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเปิดรับอารยธรรมจากชาติตะวันตก ส่งผลให้เกิดการบุกเบิกสร้างสรรค์
                       ผลงานแนวตะวันตกมากมาย “เหรียญแต้เม้งทงป้อ” เป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของไทย สร้าง

                       ขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่๕  ทรงเจริญพระชนมายุครบ

                       ๖๐  พรรษา...  ด้านหลังมีอักษรจีน  อ่านออกเสียงส าเนียงแต่จิ๋วว่า  “แต้เม้งทงป้อ"  ซึ่งแปลว่า

                       “เงินตราของแต้เม้ง” ซึ่ง “แต้เม้ง” เป็นพระนามภาษาจีนของรัชกาลที่ ๕ เหรียญนี้นอกจากจะเป็น
                       เหรียญกษาปณ์ช าระหนี้ได้ตามกฎหมาย  แล้วก็ยังถือว่าเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของไทย...

                       ต่อมาภายหลังมีการสร้างเหรียญขึ้นมากมาย  โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

                       ทรงมีพราะราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญหลายชนิด ดังปรากฏต่อไปนี้










                           337  กสิกรไทย, 100 ปี  ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี [สารคดี] กรุงเทพ: ธนาคารกสิกรไทย, ไม่ปรากฏปีที่สร้าง
   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227   228