Page 221 - kpi20858
P. 221
178
จากความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และความหวังดี
ที่มีต่อรัฐบาลสยาม ท าให้ท่านเริ่มฝึกสอนอย่างไม่เป็นทางการให้แก่ช่างผู้สนใจ โดยไม่คิดหวงวิชา
ความรู้ ค านึงถึงผลประโยชน์อันจะเกิดแก่ชาติบ้านเมืองในการผลิตช่างหรือศิลปินที่มีความเชี่ยว
ชาญ โดยไม่ต้องพึ่งพาช่างชาวต่างประเทศ ซึ่งจะท าให้รัฐบาลสูญเสียงบประมาณในการว่าจ้างจน
เกินควร ประกอบกับ ความรีบเร่งของงานในราชการ ที่ต้องการผู้ช่วย จึงเกิดการก่อตั้งโรงเรียน
ศิลปะ เพื่อท าการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ช่างหรือศิลปินชาวไทยอย่างเป็นทางการ ในนาม “โรงเรียน
ประณีตศิลปกรรม” ในปี พ.ศ.2477 แท้จริงแล้วนั้น ศาสตราจารย์เฟโรจี มีความประสงค์จะก่อตั้ง
โรงเรียนมาตั้งแต่ก่อนหน้า ปีพ.ศ.2477 ทว่า หม่อมเจ้าอิทธิพเทสรรค์ กฤดากร ไม่ทรงเห็นด้วย ดัง
ความว่า “โครงการเรื่องตั้งโรงเรียนศิลปะไม่ใช่เป็นของใหม่ เพราะได้เคยพูดเรื่องนี้แก่หม่อมเจ้าอิทธิ
เทพสรรค์และคนอื่นๆ มาแล้วบ่อยๆ” อย่างไรก็ตามภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
330
ได้มีการตั้งกรมศิลปากรขึ้นใหม่ ศาสตราจารย์เฟโรจีได้มาสังกัดกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร
กระทรวงธรรมการ มีพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช ร. สุขยางค์) เป็นผู้อ านวยการ ขณะนั้นเองที่
ศาสตราจารย์เฟโรจี ได้บรรลุต่อเป้าหมาย เมื่อมีการอนุมัติจัดตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัด
กรมศิลปากร ท าการเปิดสอนวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมให้แก่ข้าราชการและนักเรียนในสมัย
331
นั้นโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน มีแนวทางการศึกษาแบบศิลปะตามหลักวิชา และให้ความส าคัญกับ
รูปแบบเหมือนจริงเป็นหลัก ซึ่งจ าเป็นต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะพื้นฐานทางศิลปะให้แข็งแกร่ง
เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่จุดสูงสุดของอาชีพ ซึ่ง ด ารง วงศ์อุปราช ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
ในช่วงระยะการก่อตั้งโรงเรียนศิลปากร พ.ศ.๒๔๗๖ จนถึง พ.ศ.๒๕๐๕ ซึ่งเป็นปี
สุดท้ายของชีวิตของท่าน เป็นช่วงการวางพื้นฐานศิลปให้แก่เรา ธรรมชาตินิยมเป็นหลัก
การส าคัญที่สุดของท่านในการศึกษาและท างานศิลป นักศึกษาทุกคนในสมัยของท่านต้อง
ผ่านการศึกษาสิ่งที่เป็นธรรมชาติและเป็นจริง เริ่มตั้งแต่การวาด (Drawing) การวาดเส้นและ
การวาดเส้นผสมการให้แสงเงา และน ้าหนักเหมือนจริง และใกล้เคียงสิ่งที่เป็นจริง การวาด
จากหุ่นคน สัตว์ ต้นไม้ สิ่งของ ฯลฯ เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่เป็นจริงยิ่งขึ้น ทุกคนต้องศึกษากาย
วิภาควิทยาและปฏิบัติทั้งของคน และของสัตว์ ต้องเรียนเรขาคณิต และทัศนียวิทยา ว่าด้วย
แสงเงา และทัศนียภาพตามหลักวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้มีการออกไปปฏิบัติการวาด และ
การเขียนนอกสถานที่ เพื่อให้รู้จักสิ่งที่เป็นจริงและสังคมมากขึ้น ท่านกล่าวว่าการวาดเป็น
330 ด ารง วงศ์อุปราช, “ความเคลื่อนไหวของศิลปินและศิลปะในยุคของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี,” วารสารมหา
วิทยาลัยศิลปากร ฉบับพิเศษ100ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ปีที่12,ฉบับพิเศษ (กันยายน 2535-กุมภาพันธ์2536) : 75.
331 มหาวิทยาลัยศิลปากร, “ประวัติมหาวิทยาลัยศิลปากร,” เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2562, เข้าถึงได้จาก https://
www.su.ac.th/th/about-about.php