Page 220 - kpi20858
P. 220

177






                              ภายหลังจากการรับต าแหน่ง  ในระยะแรกท่านยังไม่ได้รับความไว้วางใจในสร้างผลงาน
                       จนกระทั่งได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ให้ปั้นพระ

                       บรมรูปเหมือนพระองค์  จนท าให้ฝีมือเป็นที่ประจักษ์แก่ข้าราชการทั้งหลาย  จากนั้นท่านจึงได้รับ

                       มอบหมายให้สร้างผลงานส าคัญๆ เป็นจ านวนมาก อาทิ การปั้นรูปเหมือนบุคคลส าคัญและอนุสาวรีย์

                       ของไทย เช่น การปั้นพระเศียร และพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระ
                       บรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  (ปฐมบรมราชานุสรณ์)  อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

                       ตลอดจนการออกแบบปั้นเหรียญตราต่างๆ  อีกมากมาย  ซึ่งช่วงที่ได้รับเกียรติและการยกย่องเป็น

                       อย่างมากคือ สมัยรัชกาลที่ 7 นับตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ท่านท างานสังกัดศิลปากรสถานราชบัณฑิตยสถาน

                       ซึ่งมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเป็นอุปนายก  และหม่อมเจ้าอิทธิ
                       เทพสรรค์ กฤดากรทรงเป็นผู้อ านวยการศิลปากรสถาน


                              ผลงานของศาสตราจารย์เฟโรจี มีแนวทางการแสดงออกแบบศิลปะตามหลักวิชา คือแสดง

                       ความเหมือนจริง ทว่ามีความสง่างามแบบคลาสสิก ทั้งนี้สันนิษฐานว่า อาจเนื่องมาจากการที่ท่าน

                       ได้รับการบ่มเพาะฝึกฝนให้มีทักษะความสามารถแบบศิลปะตามหลักวิชา เกี่ยวพันกับศิลปะคลาสสิก
                       อีกทั้งแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานแบบเหมือนจริงนี้ยังสอดรับกับพระราชนิยมของชนชั้นน าของ

                       สยาม ดังที่ ด ารง วงศ์อุปราช ได้กล่าวถึงว่า


                                  …ในยุคก่อนที่โปรเฟสเซอร์เฟโรจี  จะเข้ามารับราชการ  ก็มีสถาปนิกและศิลปินชาว
                            อิตาเลียนหลายคนเข้ามารับราชการ  ได้มีการก่อสร้างอาคารของราชการ  และของส่วนบุคคล

                            แบบตะวันตกมากมาย  พร้อมด้วยการตกแต่ง  การสร้างอนุสาวรีย์  ซึ่งส่วนใหญ่ท าโดยศิลปิน
                            ต่างประเทศ  เราได้ให้ความเชื่อถือศิลปินอิตาเลียนเป็นอย่างมาก  แบบอย่างศิลปที่เป็นที่

                            ยอมรับก็คือแบบคลาสสิค แบบบารอค และแบบรอคโคโค เป็นต้น โปรเฟสเซอร์เฟโรจี ซึ่งเป็น

                                                                                  329
                            ศิลปินแบบเหมือนจริง (Natural Realism) จึงเหมาะส าหรับงานเหล่านี้
                            จากแนวทางศิลปะแบบเหมือนจริง  หรือเรียก  Natural  realism  นั้น  แสดงให้เห็นถึงการให้

                       ความส าคัญต่อการศึกษาธรรมชาติเป็นแม่แบบ  ดังนั้นผลงานศิลปะของศาสตราจารย์เฟโรจี  จึง
                       ตั้งอยู่บนพื้นฐานการน าเสนอความสมจริง มีรูปลักษณ์ที่เป็นเหตุเป็นผล ผสานกับความสมบูรณ์ ถึง

                       พร้อมด้วยความงามที่มีชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติอีกด้วย ทั้งนี้บทบาทของท่านนั้นมิได้จ ากัดอยู่แต่ใน

                       ฐานะศิลปินผู้สร้างผลงานศิลปะแก่ทางการเท่านั้น  ทว่าท่านยังมีอีกสถานะหนึ่งคือ  เป็นอาจารย์

                       ผู้สร้างศิลปินเพื่อรับใช้ประเทศชาติอีกด้วย





                           329  ด ารง วงศ์อุปราช,ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี, 21-22.
   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225