Page 219 - kpi20858
P. 219

176






                       ไม่ส าเร็จ นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่า เพื่อพัฒนาตนเองท่านต้องมีความวิริยะอุตสาหะมากกว่า
                       นักเรียนศิลปะคนอื่นๆ ด้วยเหตุนี้เมื่อส าเร็จการศึกษาในปี พ.ศ.2457 ภายหลังจากส าเร็จการศึกษา

                       ท่านได้สมัครสอบแข่งขัน   และได้รับคัดเลือกเป็นศาสตราจารย์จากจ านวนผู้เข้าสอบแข่งขัน

                                                               325
                       มากมาย  ซึ่งในขณะนั้นท่านมีอายุเพียง  22  ปี   และท าการสอนในสถาบันดังกล่าวจนกระทั่งปี
                       พ.ศ.2465 อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2466 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี
                       พระราชประสงค์ที่จะว่าจ้างศิลปินชาวอิตาลีเพื่อเข้ารับราชการในสยาม  ในการนี้ศาสตราจารย์

                       ศิลป์  พีระศรี เป็นหนึ่งที่สมัครเพื่อขอเข้ารับราชการในรัฐบาลสยาม ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์

                       เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ได้ทรงมีพระวินิจฉัยว่า  ในบรรดาผู้สมัครทั้งหมดจ านวน

                       ประมาณ  200  คนนั้น  นายเฟโรจี  มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุด  ที่จะสนองราชการได้สมพระราช
                                                                                326
                       ประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จึงทรงคัดเลือกนายเฟโรจี   ดังนั้นท่าน  และภรรยาคือ
                       คุณฟันนี วิเวียนี พร้อมด้วยบุตรสาวชื่อ อิสเบลลา ได้เดินทางมาประเทศไทยเมื่อ 14 มกราคม พ.ศ.

                       ๒๔๖๖ ขณะอายุได้ 31 ปี 3 เดือน 29 วัน และได้ท าสัญญาเข้ารับราชการเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์

                       2466 ในต าแหน่งช่างปั้นสังกัดกรมศิลปากร สังกัดกระทรวงวัง ได้รับเงินเดือน 800 บาท โดยท่าน

                                                                       327
                       เช่าบ้านอยู่ที่บ้านเลขที่ 2542 ถนนสีลม บางรัก กรุงเทพฯ
                              การตัดสินใจเข้ามารับราชการในประเทศสยามครั้งนี้  สันนิษฐานว่าศาสตราจารย์เฟโรจีคง

                       มีความเห็นว่า  ในประเทศอิตาลีขณะนั้นอยู่ท่ามกลางกระแสศิลปะแบบสมัยใหม่  ซึ่งห่างไกลจาก

                       รูปแบบที่ตนเองมีความชื่นชอบและถนัด ดังนั้นการเดินทางเข้ามารับราชการในประเทศสยาม ที่ซึ่ง
                       ยังคงมีความต้องการช่างผู้มีฝีมือแบบศิลปะตามหลักวิชา คงเป็นการดีอันจะน าพาประโยชน์สุขแก่

                       ท่านและผู้ว่าจ้างได้มากกว่า  ดังที่ด ารง  วงศ์อุปราช  ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า  “ทางยุโรปมีความ

                       เคลื่อนไหวทางโมเดอร์นนิสม์สูงมาก  โดยทั่วไปประเทศสยามซึ่งยังสงบและห่างไกลจากความเคลื่อน

                       ไหวของโมเดอร์นนิสม์ จะเหมาะกับศาสตราจารย์เฟโรจี ซึ่งเป็นศิลปินในแนวทางเรียลลิสม์คลาสสิค
                                                                                         328
                       ท่านน่าจะมีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานที่ท่านถนัดและมีความสุขมากกว่าที่อิตาลี”   ด้วยเหตุนี้  ท่าน
                       และภรรยา พร้อมด้วยบุตรสาว จึงเดินทางเข้ามาในสยาม เพื่อรับต าแหน่งช่างปั้นแห่งศิลปากรสถาน





                           325  ด ารง วงศ์อุปราช,ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี, 21.
                           326  นันทา ขุนภักดี “ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี: ความสัมพันธ์กับปราชญ์ไทย,” วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับ
                       พิเศษ100ปี ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี ปีที่12,ฉบับพิเศษ (กันยายน 2535-กุมภาพันธ์2536) : 209.

                           327  ด ารง วงศ์อุปราช,ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี, 22.
                           328  ด ารง วงศ์อุปราช, “ความเคลื่อนไหวของศิลปินและศิลปะในยุคของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี,”วารสารมหา
                       วิทยาลัยศิลปากร ฉบับพิเศษ100ปี ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี ปีที่12,ฉบับพิเศษ (กันยายน 2535-กุมภาพันธ์2536): 73.
   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224