Page 218 - kpi20858
P. 218

175






                                  คุณพ่อมีใจรักงานปั้นมาแต่เยาว์วัย  แต่ในเบื้องแรกไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนในแนวนี้โดย
                            ตรง  เพราะครอบครัวมีฐานะยากจน  และบิดาดมารดาไม่ได้สนับสนุน ในขณะที่เพื่อนๆ  ใน

                            วัยเดียวกันชวนไปวิ่งเล่นสนุกตามประสาเด็ก คุณพ่อก็มักจะปฏิเสธ กลับปลีกตัวไปนั่งเล่นที่
                            ริมน ้าตามล าพังและเอาดินแถวนั้นมาปั้นเป็นรูปสัตว์  รูปคน  ชายหญิงและเด็กในอิริยาบถ

                            ต่างๆ  ต่อมาประติมากรของนครฟลอเรนซ์  ในขณะนั้นก็ได้มาเห็นผลงานเล็กๆ เหล่านั้นเข้า
                            โดยบังเอิญ  เกิดความประทับใจ  และทึ่งในฝีมือ  ก็ได้ออกปากชวนให้ไปท างานในโรงปั้นเล็กๆ

                            ของเขา  ประติมากรผู้นั้นก็สนับสนุนให้คุณพ่อได้เข้าศึกษาศิลปะโดยตรง  ทีมหาวิทยาลัย

                                                                                             322
                            ศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ ซึ่งที่นี่เองคุณพ่อก็ได้ท างานสอนศิลปะเมื่อศึกษาจบแล้ว
                            จากความสามารถและความรักต่อการสร้างงานศิลปะมาตั้งแต่เยาว์วัย ท าให้ภายหลังจากที่

                       ศาสตราจารย์เฟโรจีส าเร็จการศึกษาระดับมัธยมแล้ว  ท่านได้ตัดสินใจเข้าศึกษาในสถาบันศิลปะ

                       แห่งนครฟลอเรนซ์ โดยได้รับการสนับสนุนจากประติมากรผู้มีพระคุณ ซึ่งสอดคล้องกับที่ ด ารง วงศ์
                       อุปราช ซึ่งเป็นศิษย์ของท่าน กล่าวถึง ดังนี้


                                  เมื่อท่านส าเร็จการศึกษาระดับประถมและมัธยมเมื่อ  พ.ศ.๒๔๕๐  ท่านจึงเข้าศึกษา

                            ต่อที่สถาบันศึกษาศิลปชั้นสูงของฟลอเรนซ์ (The Academy of Fine Arts of Florence) ท่าน
                            ศึกษาศิลปะและทฤษฎีศิลปะ  โดยทั่วไปและเลือกวิชาเอกประติมากรรม  ส าเร็จการศึกษา

                            ตามหลักสูตร ๗ ปี เมื่อพ. ศ. ๒๔๕๗ หลังจากส าเร็จการศึกษาท่านได้สมัครสอบแข่งขันเข้า
                            เป็นศาสตราจารย์ประจ าในสถาบันศึกษาเดิมของท่าน  และได้รับการคัดเลือกและเป็น

                                                           323
                            ศาสตราจารย์ที่นั่น จนถึงพ. ศ. ๒๔๖๕
                              ด้วยเหตุที่เมืองฟลอเรนซ์นั้นเป็นศูนย์กลางที่ส าคัญทางศิลปะ  ชีวิตของศาสตราจารย์เฟโรจี

                       แวดล้อมไปด้วยผลงานของศิลปินชั้นครู  ประกอบกับความมีใจรักและศรัทธาในศิลปะ  ท าให้ท่าน

                       เข้าศึกษาที่สถาบันศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์  ระหว่างการศึกษาท่านต้องรับภาระทั้งเรียนและท างาน

                       พิเศษ ไปพร้อมกัน ในบทความของ นันทา ขุนภักดี ปรากฏข้อความที่กล่าวถึง ศาสตราจารย์เฟโรจี
                       เล่าถึงชีวิตในวัยเรียนว่า  “ฉันขยันมากนะนาย  ฉันเรียนด้วย  ฉันรับจ้างเขาเขียนภาพเฟรสโก  เพื่อ

                       เลี้ยงแม่ของฉันด้วย  ...  ฉันไม่ใช่คนรวยจะสอบเข้าเรียน  ทุกคนเขาไปกวดวิชากัน  แต่ฉันไม่ได้กวด

                       แต่ฉันก็สอบได้ที่  1”   จากข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านศิลปะของศาสตราจารย์
                                        324
                       ศิลป์  พีระศรี ด้วยทักษะความสามารถของท่าน ท าให้ท่านได้รับการว่าจ้างให้ท างานตั้งแต่ยังเรียน


                           322  กสิกรไทย, 100 ปี  ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี [สารคดี] กรุงเทพ: ธนาคารกสิกรไทย, ไม่ปรากฏปีที่สร้าง.

                           323  ด ารง วงศ์อุปราช,ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี (กรุงเทพฯ: ปาณยา,2521), 21.
                           324   นันทา  ขุนภักดี  “ศาสตราจารย์ศิลป์   พีระศรี:  ความสัมพันธ์กับปราชญ์ไทย,”  วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร
                       ฉบับพิเศษ100ปี ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี ปีที่12,ฉบับพิเศษ (กันยายน 2535-กุมภาพันธ์2536) : 206.
   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223