Page 222 - kpi20858
P. 222

179






                            ไวยากรณ์ส าหรับศิลปทั้งหมดที่เป็นทัศนศิลป  ถ้าวาดไม่ได้ก็ยากที่จะท าศิลปะบริสุทธิ์และ
                            ศิลปะประยุกต์ได้  ...การเขียนและการปั้นเป็นอันดับต่อมาที่จะต้องท าจากการศึกษาธรรมชาติ

                            โดยการฝึกระบายสีจากแบบธรรมชาติ สิ่งของ คน สัตว์ และบ้านเรือน ฯลฯ เริ่มต้นจากสีน ้าสีฝุ่น
                            การปั้นนั้นก็ขึ้นโดยการใช้ดินปั้นจากหุ่น  และแบบในห้องปฏิบัติงาน  จะต้องปั้นดินได้เป็นอย่างดี

                            จึงจะฝึกหัดการหล่อด้วยพลาสเตอร์  ท่านเข้มงวดในการศึกษามากและตรวจสอบการท างานของ
                            นักศึกษาอย่างละเอียดและสม ่าเสมอ
                                                        332
                            การน าเสนอผลงานและการเผยแพร่แนวทางแบบเหมือนจริงนี้  ยังคงสอดคล้องไปกับความ

                       ต้องการของผู้น าใหม่ ดังที่ ด ารง วงศ์อุปราชกล่าวว่า “เรื่องของศิลปะน าโดยสถาบันของรัฐบาลคือ

                                                                                                333
                       ศิลปากรสถาน มีผลงานศิลปะแบบเรียลลิสม์ที่เป็นแบบแผนโดยศาสตราจารย์เฟโรจี...”  ทั้งนี้ ใน
                       ปีพ.ศ.2486  มีการยกฐานะของโรงเรียนให้ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย  ศาสตราจารย์เฟโรจีจึงได้รับการ
                       แต่งตั้งเป็นคณบดีคนแรกของคณะประติมากรรมและคณะจิตรกรรม


                            สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2485 เมื่อประเทศอิตาลียอมจ านนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ชาว

                       อิตาลี ในประเทศไทยจึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมตัวของประเทศเยอรมนี และญี่ปุ่น เหตุการณ์ครั้ง

                       นั้นท าให้  ศาสตราจารย์เฟโรจีถูกควบคุมตัว  แต่ทว่าได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย  ที่ขอ
                       ควบคุมตัวศาสตราจารย์เฟโรจีเอาไว้เอง  เพื่อคุ้มครองท่าน  และหลวงวิจิตรวาทการได้ด าเนินเรื่อง

                       ขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย และท าการเปลี่ยนชื่อจาก คอร์ราโด เฟโรจี เป็น

                                  334
                       ศิลป์   พีระศรี     โดยได้รับการอนุมัติให้ใช้สัญชาติไทยและใช้ชื่อใหม่ตั้งแต่เดือน  มกราคม  พ.ศ.
                                                                                        335
                       2487 นับว่าเป็นการเริ่มยุคใหม่ของท่านโดยการเป็นคนไทยทั้งสัญชาติและชื่อ
                            ด้านบั้นปลายชีวิต ท่านได้สมรสใหม่กับคุณมาลินี มาลินี เคนนี่ ในปี พ.ศ.2502 ทว่าไม่มีบุตร

                       ด้วยกัน ซึ่งภายหลังเพียง 3 ปี ท่านได้ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งล าไส้ใหญ่ ก่อนที่จะถึงแก่อนิจกรรมใน

                       วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2505 ที่โรงพยาบาลศิริราช รวมสิริอายุได้ 69 ปี 7เดือน 29 วัน
                                                                                                336





                           332  ด ารง วงศ์อุปราช,ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี, 36-37.
                           333   ด ารง  วงศ์อุปราช,  “ความเคลื่อนไหวของศิลปินและศิลปะในยุคของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี,”วารสารมหา

                       วิทยาลัยศิลปากร ฉบับพิเศษ100ปี ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี ปีที่12,ฉบับพิเศษ (กันยายน 2535-กุมภาพันธ์2536) : 74-75.
                           334  กรมศิลปากร, “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติศิลป์  พีระศรี อนุสรณ์,” เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2562, เข้าถึงได้จาก
                       http://www.finearts.go.th/promotion/parameters/km/iteml

                           335  ด ารง วงศ์อุปราช,ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี, 38.
                           336  กรมศิลปากร, “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติศิลป์  พีระศรี อนุสรณ์,” เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2562, เข้าถึงได้จาก
                       http://www.finearts.go.th/promotion/parameters/km/iteml
   217   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227