Page 195 - kpi20767
P. 195
170
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ เป็นการตรวจสอบหรือยืนยันความถูกต้องเชื่อถือได้ของผลการวิจัยที่
ได้รับจากการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีการเติมเต็มขยายความ หรือเพิ่มพูนความครบถ้วนสมบูรณ์
(Complementary) ของผลการวิจัยเชิงปริมาณในประเด็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการด าเนินงานตาม
ยุทธศาสตร์ชาติขององค์กรภาครัฐภายใต้หลักธรรมาภิบาล และการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ
ขององค์กรภาครัฐภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ได้รับจากการวิจัยระยะที่ 1 โดยการขยายขอบเขตความ
กว้างและความลุ่มลึก (Expansion) ด้วยการพิจารณาข้อสนเทศที่ได้รับจากปัจจัยแห่งความส าเร็จ
และสภาพปัญหาอุปสรรคในการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติขององค์กรภาครัฐภายใต้หลักธรรมา
ภิบาล เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติของ
องค์กรภาครัฐภายใต้หลักธรรมาภิบาล และการการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติขององค์กรภาครัฐ
ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ได้รับจากการวิจัยระยะที่ 1 ให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการสรรค์สร้างความรู้ความ
เข้าใจใหม่ ซึ่งได้แก่ แนวทางในการพัฒนาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติขององค์กรภาครัฐที่มีประเด็น
ความท้าทายเรื่องธรรมาภิบาล
โดยในการน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้ จะเรียงล าดับตาม
ขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยชิงคุณภาพตามที่ได้ก าหนดไว้ ดังนี้
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลส าคัญ
จากผลการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลส าคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้ สามารถ
อธิบายได้ดังตารางที่ 4.52 ดังนี้
ตารางที่ 4.52 ผลการการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลส าคัญ
กรมการท่องเที่ยว ชื่อผู้ให้ข้อมูล ต าแหน่ง
วันที่ 10 เม.ย. 2562 นางสาวกอบกุล ปิตรชาด ผู้ช่วยผู้อ านวยการกองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
เวลา 13.00-16.30 นายเติมสิน เดชารัตน์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
นางสาววรุณกาญจน์ ฐิติธรรมาภรณ์ หัวหน้ากองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
กรมกิจการผู้สูงอายุ ชื่อผู้ให้ข้อมูล ต าแหน่ง
วันที่ 24 เม.ย. 2562 นางไพรวรรณ พลวัน อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ
เวลา 13.00-15.00 นางปราณี ประทุมมา เลขานุการกรม
นางประภาวดี สิงหวิชัย ผู้อ านวยการกองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครอง
สิทธิผู้สูงอายุ