Page 146 - kpi20761
P. 146
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 145
แรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบและยั่งยืนโดยเริ่มจากการปฏิรูปฐานข้อมูล
และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้ฐานข้อมูลมีความถูกต้องและสามารถ
น�าข้อมูลดังกล่าวไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างตรงจุด การจะปฏิรูป
๒๐๕
ฐานข้อมูลดังกล่าวจ�าต้องมีการออกกฎหมายล�าดับรองเพื่อให้หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องจัดส่งข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูล ภายในก�าหนดระยะเวลา และ
มีบทก�าหนดโทษในกรณีที่ฝ่าฝืน ๒๐๖
นอกจากการปฏิรูปฐานข้อมูลและพัฒนาระบบสารสนเทศแล้ว
ยังมีความจ�าเป็นต้องปฏิรูปการท�างานโดยการปรับโครงสร้างการบริหาร
จัดการแรงงานข้ามชาติและการปราบปรามกระบวนการค้ามนุษย์เชิงรุก
ซึ่งพึงมีการแก้ไขกฎหมายในประเด็นต่างๆ อันได้แก่ การแก้ไขกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติพร้อมเพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้
กฎมาย การใช้บังคับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม การใช้แรงงานข้ามชาติ
(Levi Tax) ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการทางานของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๕๑ การตรากฎหมายล�าดับรองเพื่อเปิดโอกาสให้นายจ้าง และ
เจ้าของโควต้าเข้ามาแจงข้อเท็จจริง และการตรากฎหมายล�าดับรองเพื่อจัดท�า
คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ ๒๐๗
(๒) กำรปฏิรูปเพื่อส่งเสริมอำชีพของคนไทยเพื่อควำม
มั่นคงด้ำนแรงงำนและเพื่อยกระดับให้เป็นผู้ประกอบกำร
การปฏิรูปเพื่อส่งเสริมอาชีพของคนไทยเพื่อความมั่นคง
ด้านแรงงานและเพื่อยกระดับให้เป็นผู้ประกอบการเป็นการส่งเสริม
ให้ประชาชนประกอบอาชีพที่ได้รับการสงวนให้คนไทยท�าและยกระดับ
ให้เป็นผู้ประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อให้อาชีพดังกล่าวยังคงอยู่สืบต่อไป ๒๐๘
๒๐๕
สภาปฏิรูปแห่งชาติ วาระปฏิรูปที่ ๓๗ : ปฏิรูปการแรงงาน หน้า ๑๙-๒๑
๒๐๖ สภาปฏิรูปแห่งชาติ วาระปฏิรูปที่ ๓๗ : ปฏิรูปการแรงงาน หน้า ๒๑
๒๐๗ สภาปฏิรูปแห่งชาติ วาระปฏิรูปที่ ๓๗ : ปฏิรูปการแรงงาน หน้า ๒๓
๒๐๘ สภาปฏิรูปแห่งชาติ วาระปฏิรูปที่ ๓๗ : ปฏิรูปการแรงงาน หน้า ๒๓
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 145 13/2/2562 16:24:15