Page 142 - kpi20761
P. 142
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 141
การจ้างงานเยาวชน และการส่งเสริมการเป็นเจ้าของกิจการ และการจัดท�า
๑๙๗
กรอบแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างของเอเปคภายใต้วาระใหม่ส�าหรับ
๑๙๘
การปฏิรูปโครงสร้างเอเปค ช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๓ เป็นต้น
๒.๑.๒ การปฏิรูปการแรงงานและประเด็นที่เกี่ยวข้อง
กับการแรงงานตามวาระปฏิรูปของสภาปฏิรูปแห่งชาติ
แนวคิด ในปัจจุบัน ประเทศไทยก�าลังประสบปัญหาต่างๆ
ที่ก�าลังค่อยๆ บั่นทอนความเจริญก้าวหน้าของประเทศไทย อาทิ ปัญหา
คุณภาพของคนต่อการแข่งขันกับประเทศอื่น ปัญหาเกี่ยวกับความเหลื่อมล�้า
๑๙๙
ในสังคม และปัญหาเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมในสังคม เป็นต้น
เมื่อพิจารณาปัญหาต่างๆ เหล่านี้แล้วจะพบว่าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข
ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานของสังคมซึ่งจ�าเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจาก
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จึงเกิดการก่อตั้ง
สภาปฏิรูปแห่งชาติขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการวิเคราะห์ปัญหาและ
เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
สภาปฏิรูปแห่งชาติได้น�าเสนอการปฏิรูปในด้านต่างๆ ไว้
หลากหลายด้าน โดยที่การปฏิรูปด้านการแรงงาน (๒.๑.๒.๑) เป็นหนึ่ง
ในการปฏิรูปที่สภาปฏิรูปให้ความส�าคัญ แต่การจะปฏิรูปการแรงงานให้
มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลได้นั้นจ�าเป็นต้องค�านึงถึงการปฏิรูป
ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ การปฏิรูปด้านสวัสดิการสังคม (๒.๑.๒.๒)
การปฏิรูประบบเพื่อรองรับสังคมสูงวัย (๒.๑.๒.๓) ประกอบกันด้วย
๑๙๗
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ หน้า ๒๐๒
๑๙๘ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ หน้า ๒๐๒-๒๐๓
๑๙๙ สภาปฏิรูปแห่งชาติ วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศไทย และการปรับเปลี่ยน
กลไกภาครัฐ
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 141 13/2/2562 16:24:15