Page 20 - kpi19910
P. 20
10
ข้อตกลง ไม่ใช่การใช้เสียงส่วนใหญ่ตัดสิน 2) การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (Inclusiveness) กล่าวคือ
บุคคลที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ต้องมีสิทธิเข้าร่วมในกระบวนการเจรจา หรือการไกล่
เกลี่ยข้อพิพาท หรืออย่างน้อยที่สุดต้องให้ความเห็นชอบกับกระบวนการนี้ 3) การยอมรับสถานะของ
บุคคลที่เข้าร่วม (Accountability) กล่าวคือ บุคคลที่เข้าร่วม กระบวนการขจัดความขัดแย้งนี้ ปกติจะ
เป็นตัวแทนของกลุ่มบุคคลหรือผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นที่ยอมรับของกลุ่มบุคคลหรือ
ผลประโยชน์นั้น รวมทั้งเป็นที่ยอมรับในระหว่างกระบวนการขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วย 4) การ
ช่วยเหลืออ านวยความสะดวก (Facilitation) กล่าวคือ บุคคลซึ่งเป็นกลางและเป็นที่ยอมรับของทุก
ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ท าหน้าที่ด าเนินและควบคุมกระบวนการ รวมทั้งรักษาบรรยากาศของการ
สนทนาเจรจาและการสื่อสารระหว่างกัน ให้เป็นไปอย่างราบรื่นจนบรรลุข้อตกลง 5) ความยืดหยุ่น
(Flexibility) กล่าวคือ บุคคลที่เข้าร่วมเป็นผู้ก าหนดกระบวนการ ประเด็นปัญหาที่จะเจรจาที่ทุกฝ่าย
คิดว่าเหมาะสมในการแก้ไขปัญหา 6) การควบคุมกระบวนการร่วมกัน (Shared Control) บุคคลทุก
ฝ่ายที่เข้าร่วมกระบวนการจะมีหน้าที่ร่วมกันในการก าหนดกฎกติกาพื้นฐานที่ใช้ควบคุมกระบวนการให้
ด าเนินไปอย่างราบรื่น และ 7) การยอมรับที่จะปฏิบัติตาม (Commitment to Implementation)
กล่าวคือ บุคคลที่เข้าร่วมกระบวนการนี้ และบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง และได้ให้
การยอมรับในการด าเนินการะบวนการนี้ จะต้องยอมรับในข้อตกลงและปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกัน
(มนตรี ศิลป์มหาบัณฑิต, 2555) กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้
ภาคประชาชนมีการพัฒนาตนเองให้มีความเข้มแข็ง และเป็นเอกภาพอันจะน าไปสู่การกระจาย
บทบาทและอ านาจในการตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อมไปสู่ภาคประชาชนมากกว่าเป็นการรวมศูนย์การ
ตัดสินใจดังที่ผ่านมา จึงจ าเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในโครงการ
พัฒนาต่าง ๆ (Thailand Environment Institute, 2002)
กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมก่อให้เกิดวิธีการน ามาซึ่งกระบวนการแก้ไขปัญหาความ
ขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ จากการอาศัยคู่ขัดแย้งร่วมแก้ไขปัญหา เช่น ปรากฏในรูปแบบการเจรจาไกล่เกลี่ย
การแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
แก้ปัญหาความขัดแย้งในชุมชน คือ กระบวนการซึ่งน าเอาการห่วงกังวลของประชาชนหรือสาธารณชน
ความต้องการและความเชื่อ หรือค่านิยมของประชาชนมาประกอบ การตัดสินใจของรัฐบาล การมีส่วน
ร่วมของประชาชนเป็นการสื่อสาร 2 ทาง โดยมีเป้าหมายส าคัญ คือ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่ดี
สาธารณชนให้การสนับสนุน (วันชัย วัฒนศัพท์, 2548) การด าเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในประเทศไทย อาจถือว่าเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อ พ.ศ. 2535 ภายหลังจากการ
ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (The United Nations Conference on
Environment and Development : UNCED) หรือการประชุม Earth Summit ที่กรุงริโอ
เดอจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ซึ่งเป็นการประชุมระดับผู้น าจากประเทศสมาชิก 178 ประเทศ
รวมทั้งประเทศไทย จากการประชุมดังกล่าว ได้มีการลงนามความร่วมมือในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการ
พัฒนารวม 3 ฉบับ หนึ่งในนั้นคือ แผนปฏิบัติการ 21 หรือ Agenda 21” ซึ่งเป็นเสมือนแผนแม่บท
ของประชาคมโลกในการด าเนินงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
แผนปฏิบัติการ 21 มีหลักการที่ส าคัญรวม 27 หลักการ ส าหรับหลักการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการมี