Page 25 - kpi19910
P. 25
15
และการสูญเสียนิเวศน์วัฒนธรรม อันเป็นปัญหายิ่งใหญ่ที่รุกล้ าความหลากหลายทางชีวภาพ โดยรัฐ
เป็นคู่ขัดแย้งที่ส าคัญกับประชาชน ซึ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งมีรากเหง้ามาจากการที่
ประชาชนได้รับผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร ที่เข้ามาในรูปแบบของโครงการ
ขนาดใหญ่ ทั้ง เขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ า การวางท่อแก๊ส การเติบโตของอุตสาหกรรม การขยายโรงงาน
การบ าบัดน้ าเสีย การก าจัดกากอุตสาหกรรม ล้วนสร้างผลกระทบด้านมลพิษให้กับชุมชนโดยตรง
ประชาชนจึงต้องรวมตัวกันเพื่อกระท าการรวมหมู่ (Collective action) เดินขบวนและชุมนุมประท้วง
คัดค้านในหลากหลายรูปแบบ ความขัดแย้งยิ่งเพิ่มมากขึ้นและซับซ้อนมากขึ้นทุกที ทั้งได้พัฒนาและ
ขยายตัวไปพร้อม ๆ กับยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาประเทศซึ่งเน้นเรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในขณะที่โครงสร้างอ านาจนิยม (Authoritarianism) ยังไม่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น แนวโน้มการ
แก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับประชาชนจึงหลีกไม่พ้นเรื่องการใช้อ านาจ สวนทางกับวิธีการ
แบบสันติวิธี (Non-violent) ด้วยรูปแบบต่าง ๆ ตลอดมา และที่ส าคัญที่สุดคือปัญหาการใช้กลไก
ราชการตอบโต้การเคลื่อนไหวของประชาชน โดยอาศัยกลไกรัฐผูกขาดการให้ข้อมูลข่าวสาร ปิดกั้น
ฝ่ายประชาชนเข้าไปในพื้นที่ บิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ผูกขาดการชี้แจงโครงการฝ่ายเดียว ไม่เปิดโอกาส
ให้ฝ่ายคัดค้านด าเนินกิจกรรม นั่นคือรัฐปิดมิให้สาธารณชนแสดงความคิดเห็นต่อโครงการสาธารณะ
และปฏิเสธโอกาสของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public participation) ในการแก้ปัญหา
เพื่อหาทางออก ซึ่งเหล่านี้เรียกว่า “ประชาพิจารณ์” (Public hearing) มักถูกละเลยจากอ านาจรัฐ
(ธนชาติ แสงประดับ ธรรมโชติ, 2553)
2.5 กรอบแนวคิดในการวิจัย
การเกิดขึ้น สาเหตุการเกิดความขัดแย้ง ผลกระทบ
ของนโยบาย - ความขัดแย้งโครงสร้างพื้นฐาน
- คน-ชุมชน
โครงการตาม - เศรษฐกิจ (พลังงาน) - สิ่งแวดล้อม
แนวนโยบาย - ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - อัตลักษณ์
ภาครัฐ ภาคใต้ (พลังงาน) - ความเชื่อ
- ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - ความขัดแย้ง
(การบริหารจัดการน้ า)
- ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ที่ดินท ากิน)
- ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ป่าไม้) กลยุทธ์/แนวทาง/
ฯลฯ ทางเลือก
การแก้ไขปัญหา
ความขัดแย้ง
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย