Page 27 - kpi19910
P. 27

17







                      3.5 วิธีด าเนินการวิจัย
                               การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย


                               3.5.1 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research)
                                        1) การวิจัยเอกสารครั้งนี้เป็นการสังเคราะห์เอกสารทั้งในประเทศและต่างประเทศ
                      ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสถานการณ์และสาเหตุความขัดแย้งโดยเน้นในด้าน

                      ของความขัดแย้งอันเนื่องมาจากโครงการที่เกิดขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐ และแนวทางบริหารความ
                      ขัดแย้งของโครงการที่เกิดขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมีการศึกษาจากกรณีศึกษาที่มี
                      ปัญหาความขัดแย้งอย่างน้อย (แทบทุกกรณีมีมากกว่า 3 ฝ่าย) ระหว่าง 2 ฝ่าย โดยท าการศึกษาจาก
                      แหล่งข้อมูลที่มาจากข่าวเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ บันทึกผ่านการร้องเรียนทั้งที่เป็นเอกสารผ่านการ

                      เผยแพร่ผ่านหน่วยงานภาครัฐโดยตรงและสื่อสาธารณะทั่วไป รวมถึงรายงานวิจัยเฉพาะเรื่องของ
                      กรณีศึกษานั้น ๆ
                                    2) ศึกษาความเป็นมา สาเหตุแห่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากโครงการตาม
                      แนวนโยบายภาครัฐ ในพื้นที่การศึกษาจังหวัดภาคใต้ จ านวน 11 จังหวัด

                                    3) การวิเคราะห์ข้อมูลความขัดแย้งจากการด าเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ
                      (Conflict Mapping Phase 2) ภาคใต้

                               3.5.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)


                                     3.5.2.1 ด าเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)

                                            1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                                                    1.1) ประชากร ประกอบด้วย คือ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการด าเนิน

                      โครงการ ประกอบด้วย ตัวแทนภาคประชาชน ตัวแทนผู้น าท้องถิ่น ตัวแทนข้าราชการส่วนกลาง ส่วน
                      ภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น และตัวแทนผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของโครงการในพื้นที่ภาคใต้

                                              1.2) กลุ่มตัวอย่าง
                                                             กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการด าเนิน

                      โครงการ ประกอบด้วย ตัวแทนภาคประชาชน ตัวแทนผู้น าท้องถิ่น ตัวแทนข้าราชการส่วนกลาง ส่วน
                      ภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น และตัวแทนผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของโครงการในพื้นที่ภาคใต้ โดยกลุ่ม
                      ตัวอย่างมีจ านวนทั้งสิ้น 45 คน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)


                                           2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการสร้างเครื่องมือการวิจัย
                                                       เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กึ่งมี
                      โครงสร้าง (Semi-Structured) เป็นการค้นหาสถานการณ์และสาเหตุความขัดแย้งโดยเน้นในด้านของ

                      ความขัดแย้งอันเนื่องมาจากโครงการที่เกิดขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐ และแนวทางบริหารความ
                      ขัดแย้งของโครงการที่เกิดขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีวิธีด าเนินการสร้างเครื่องมือ
                      การวิจัย ดังนี้
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32