Page 24 - kpi19910
P. 24

14







                      ประชาชนมากที่สุด ดังนั้น นโยบายสาธารณะจึงเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้าง
                      ผลประโยชน์ให้กับประชาชนเป็นหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาชีวิต

                      ประชาชนให้ดียิ่งขึ้น และ มานิดา เฟื่องชูนุช และจุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (2560) ศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วม
                      ของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพกรณีศึกษา โครงการขยายก าลังการ
                      ผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่ โดยปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อ
                      สิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างรุนแรงทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน

                      อย่างแท้จริง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วม ปัจจัยความส าเร็จ ปัญหาและอุปสรรค
                      เพื่อน าไปสู่การน าเสนอแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
                      วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บ

                      รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา
                      กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนตามกรอบการประเมิน พบว่า พื้นที่โครงการอยู่ใกล้กับพื้นที่ชุ่ม
                      น้ าปากแม่น้ าน้ ากระบี่ที่มีความส าคัญระดับนานาชาติ เป็นแหล่งเศรษฐกิจและศูนย์กลางความ
                      หลากหลายชีวภาพทางทะเล ในส่วนของกฎหมายมีช่องว่างในทางปฏิบัติท าให้กระบวนการมีส่วนร่วม
                      ดังกล่าวยังไม่สามารถบรรลุเจตนารมณ์ที่แท้จริง และแผนพัฒนาก าลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย

                      มิได้พิจารณาถึงศักยภาพด้านพลังงานที่มีอยู่ รวมถึงความต้องการของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง
                      นอกจากนี้ประชาชนยังมีอุปสรรคในด้านการได้รับข้อมูล ซึ่งอาจยังไม่เพียงพอต่อกระบวนการตัดสินใจ
                      เนื่องจากข้อมูลที่โครงการน าเสนอแก่ประชาชนเป็นข้อมูลด้านเดียวและยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ในส่วน

                      ของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พบว่า ระบบฐานข้อมูลด้านสุขภาพ
                      ของประเทศยังไม่สามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมกับผลกระทบด้านสุขภาพจาก
                      การด าเนินโครงการฯได้ น าไปสู่ความไม่ชัดเจนของมาตรการลดผลกระทบต่อสุขภาพ ด้านความ
                      ขัดแย้งในพื้นที่เป็นผลมาจากการได้รับผลประโยชน์ที่แตกต่างกันของคนสองกลุ่ม ในส่วนของปัจจัย

                      ความส าเร็จของกระบวนการมีส่วนร่วมฯ ต้องอาศัยปัจจัยด้านเทคนิค ปัจจัยด้านบุคคล และปัจจัยด้าน
                      กระบวนการประกอบกัน
                               จะเห็นได้ว่า เมื่อความต้องการของมนุษย์สวนทางกับความยั่งยืนของธรรมชาติ โดยมีรัฐใน
                      ฐานะผู้ดูแลและจัดการทรัพยากรของประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ก าหนดนโยบายสาธารณะต่าง ๆ ส่งผลให้

                      เกิดปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับสิทธิและอ านาจในการจัดการทรัพยากร และดูเสมือนว่าปัญหาความ
                      ขัดแย้งมีบ่อเกิดมาจากยุทธศาสตร์และเป้าหมายการพัฒนาของประเทศตามแนวทางของทุนนิยมเป็น
                      ส าคัญ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นความขัดแย้งในทางเศรษฐกิจอันเป็นบรรยากาศที่นักวิชาการ
                      เรียกว่า “เวลาของทุน” (Capital time) โดยเฉพาะความต้องการเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (New

                      Industrialized Countries) ซึ่งเป็นทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเป็นอุตสาหกรรมอย่างบังคับ (Forced
                      industrialization) น าไปสู่ความขัดแย้งระหว่างการคงวิถีความเป็นอยู่ดั้งเดิม กับทิศทางของแผนการ
                      พัฒนาประเทศ รวมถึงความเข้าใจต่อความสัมพันธ์ระหว่างตนกับสิ่งที่เรียกว่าทรัพยากรธรรมชาติ

                      ส่งผลให้เกิดปัญหาที่ไม่สามารถจัดการได้ ท าให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันเป็นความขัดแย้งที่
                      เป็นผลพวงจากการแย่งชิงทรัพยากรและปัญหาการจัดการกับทรัพยากรที่เกิดจากการจัดการของรัฐที่
                      ไม่มีดุลยภาพ ปัญหาความขัดแย้งหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าการชลประทานเพื่อเกษตรกรรม
                      อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การขยายตัวของเมือง ประมงชายฝั่ง นากุ้ง สนามกอล์ฟ ปัญหามลภาวะ
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29