Page 19 - kpi19910
P. 19

9







                      ประสบความส าเร็จได้ดีก็ต้องอาศัยทักษะและความช านาญในการเจรจาต่อรองของคู่เจรจา ที่ต้อง
                      ค านึงถึงประโยชน์และการรักษาความสัมพันธ์มากกว่าการใช้อารมณ์และความรู้สึก รวมทั้งการรักษา

                      จุดยืนของแต่ละฝ่าย
                               3. อนุญาโตตุลาการ (Arbitration) เป็นวิธีการที่คล้ายคลึงกับการฟ้องร้องต่อศาลซึ่งคู่พิพาท
                      ยื่นเรื่องและเสนอพยานหลักฐานต่ออนุญาโตตุลาการหรือคณะอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด โดย
                      การออกค าชี้ขาด (Award) ที่มีผลผูกพันคู่พิพาท กระบวนการนี้จะแตกต่างจากการฟ้องร้องตรงที่ว่า

                      คู่พิพาทมีสิทธิในการเลือกอนุญาโตตุลาการที่จะท าหน้าที่ชี้ขาดได้รวมไปถึงการตกลงกันถึง
                      กระบวนการในการน าเสนอพยานหลักฐานได้วิธีการนี้มักนิยมใช้กับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้า
                      รวมทั้งข้อพิพาทที่คู่ความไม่ต้องการเปิดเผยต่อสาธารณะ

                               4. การเผชิญหน้าและประท้วงอย่างสันติ (Non-Violence Confrontation) เป็นวิธีการที่
                      แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา แต่เป็นวีการที่ฝ่ายหนึ่งปฏิเสธไม่ท าตามหรือปฏิบัติใน
                      กิจกรรมที่ควรปฏิบัติ หรือมีหน้าที่ต้องปฏิบัติซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ได้เป็นการแก้ไขตัวปัญหา แต่อาจเป็น
                      วิธีการกดดันให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมปฏิบัติในสิ่งที่ต้องการวิธีการดังกล่าวนี้ มักจะใช้ได้ผลดีที่สุดใน
                      สถานการณ์ที่ฝ่ายที่ถูกประท้วงจะต้องพึ่งพาอาศัยอีกฝ่ายหนึ่งในความเป็นอยู่

                               5. การใช้ก าลังบังคับ (Forcing) เป็นวิธีการจัดการกับข้อขัดแย้งซึ่งฝ่ายหนึ่งมีอ านาจเหนือ
                      อีกฝ่าย และไม่สามารถชักจูงใจให้อีกฝ่ายที่ด้อยกว่ายอมจ านนหรือคล้อยตามได้ จึงใช้วิธีการบังคับเพื่อ
                      ยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งฝ่ายที่ใช้ก าลังบังคับได้นั้นจะต้องมีก าลังหรืออ านาจเพียงพอที่จะ

                      บังคับ หรือท าความเสียหายให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ และต้องแสดงให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบด้วยว่า
                      มีความสามารถเช่นนั้นได้และจะใช้อ านาจเช่นนั้นด้วย แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ไม่ใช่การแก้ไขความ
                      ขัดแย้งที่ปัญหา และคู่กรณีที่ถูกบังคับจะมีความรู้สึกไม่พอใจจนอาจน าไปสู่การแก้แค้น

                               นอกจากนี้ยังมีวิธีการส าคัญเพื่อใช้ในการจัดการความขัดแย้งระหว่างรัฐและประชาชน หรือ
                      ระหว่างประชาชนด้วยกันเองแต่เจ้าหน้าที่รัฐอาจมีอ านาจในการจัดการกับความขัดแย้ง วิธีการส าคัญที่
                      สามารถใช้แก้ไขความขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมคือ “การจัดการความขัดแย้งแบบการมีส่วนร่วม
                      (Consensus Building Conflict Management) การขจัดความขัดแย้งแบบการมีส่วนร่วม หมายถึง
                      กระบวนการที่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ซึ่งอาจหมายถึงหน่วยงานของรัฐและผู้ที่มีส่วน

                      เกี่ยวข้องกับการขจัดความขัดแย้งร่วมกันค้นหาประเด็นที่เป็นสาระของความขัดแย้งหรือปมปัญหา
                      และร่วมหาทางออกซึ่งเป็นที่ยอมรับกับทุกฝ่ายส าหรับปัญหานั้น ในต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                      ประเทศสหรัฐอเมริกา  กระบวนการจัดการกับความขัดแย้งแบบมีส่วนร่วมนี้อาจมีชื่อเรียกที่แตกต่าง

                      กันไปแล้วแต่นักวิชาการหรือผู้ปฏิบัติจะบัญญัติศัพท์ขึ้นใช้ เช่น การแสวงหาข้อตกลงร่วมกัน
                      (collaborative agreement-seeking) กระบวนการแบบการมีส่วนร่วม (consensus-based
                      process) การสร้างการมีส่วนร่วม (making consensus building) การสนับสนุนกระบวนการ
                      ตัดสินใจร่วมกัน (facilitated joint decision) การสนับสนุนกระบวนการเจรจาต่อรอง (facilitated

                      negotiation) วิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (mediated approaches) หรือการสนทนาเชิงนโยบาย
                      (policy dialogue) เป็นต้น โดยมีหลักการส าคัญของวิธีการจัดการความขัดแย้งแบบมีส่วนร่วม ซึ่งจะ
                      ท าให้วิธีการดังกล่าวประสบความส าเร็จ ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Consensus
                      decision–making)  กล่าวคือ ผู้มีส่วนได้เสียที่เข้าร่วมกระบวนการเป็นผู้ร่วมกันตัดสินใจยอมรับใน
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24