Page 18 - kpi19910
P. 18
8
หรือความเห็นต่างกัน (นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีตามค าสั่งส านักนายกรัฐมนตรีที่
187/2546, 2546) การขจัดความรุนแรง ลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยการจัดการความขัดแย้งนั้นมีอยู่
หลายวิธีการ ซึ่งอยู่กับความเหมาะสมของวิธีการว่าจะจัดการกับความขัดแย้งดังกล่าวอย่างไร โดย
ฮัสสัน ดูมาลี (2558) ระบุแนวทางการจัดการความขัดแย้ง คือ
1. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Mediation) เป็นวิธีการที่คล้ายกับการเจรจาต่อรองแต่อาศัย
บุคคลที่สามที่เป็นกลาง ซึ่งเรียกว่า “ผู้ไกล่เกลี่ย” คอยช่วยเหลือ สนับสนุนกระบวนการเจรจาต่อรอง
ให้ด าเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังร่วมกับคู่พิพาทแสวงหาทางออกที่เหมาะสมและเกิด
ความพึงพอใจแก่ทุกฝ่าย
2. การฟ้องร้อง (Litigation) เป็นวิธีการที่คู่พิพาทน าเสนอพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อ
เรียกร้องของตน และให้บุคคลที่เป็นกลางหรือศาลเป็นผู้ตัดสินความถูกต้อง โดยอาศัยกฎหมายที่
เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นเป็นหลักในการตัดสิน
3. การเผชิญหน้าและประท้วงอย่างสันติ (Non-violence Confrontation) เป็นวิธีการที่
แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา แต่เป็นวิธีการที่ฝ่ายหนึ่งปฏิเสธไม่ท าตามหรือปฏิบัติ
หรือมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ได้เป็นการแก้ที่ตัวปัญหา แต่อาจเป็นวิธีการกดดันให้ฝ่าย
หนึ่งยอมปฏิบัติในสิงที่ต้องการ
นอกจากนี้ ยังมีวิธีการหรือแนวทางการจัดการความขัดแย้งที่น่าสนใจ และสามารถน าไปใช้
ได้อีกหลากหลายวิธี ซึ่ง มนตรี ศิลป์มหาบัณฑิต (2555) กล่าวว่า เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น คู่กรณี
เกี่ยวข้องกับข้อขัดแย้ง หรือบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับความขัดแย้ง อาจใช้วิธีการ
จัดการกับความขัดแย้งได้หลายรูปแบบ โดยการแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะอาจเริ่มใน
ลักษณะที่ไม่เป็นทางการ หรือเป็นกระบวนการที่คู่ความเป็นผู้ตัดสินใจเลือกกระบวนการหรือวิธีการ
รวมถึงผลของการแก้ไขข้อขัดแย้งด้วย ไปจนกระทั่งเป็นการแก้ไขข้อขัดแย้งในลักษณะบังคับ ซึ่งวิธีการ
ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับลักษณะของความขัดแย้งสถานการณ์ความรุนแรงของปัญหา และอ านาจในการ
จัดการกับความขัดแย้ง คือ
1. การหลีกเลี่ยงหรือหนีปัญหา (Avoidance) เป็นวิธีการที่ฝ่ายหนึ่งซึ่งโดยปกติเป็นผู้ที่มี
หน้าที่ในการแก้ไขความขัดแย้งด้วย ไม่สนใจในสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง หรือคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต่างไม่
สนใจที่จะแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุมาจากไม่รู้ว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น หรือรู้แต่ไม่สนใจที่จะ
แก้ไขความขัดแย้งนั้น หรือไม่เห็นว่าข้อขัดแย้งนั้นเป็นปัญหาส าคัญหรือไม่เป็นผู้ที่มีอ านาจที่จะแก้ไข
เปลี่ยนแปลง หรือไม่เชื่อว่าการแก้ไขข้อขัดแย้งจะน าไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น หรือทั้งสองฝ่ายไม่มีความพร้อมที่จะ
เจรจายุติข้อขัดแย้งระหว่างกัน ซึ่งหากข้อขัดแย้งนั้นมีการเริ่มต้นเรียกร้องจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากอีก
ฝ่ายหนึ่งใช้วิธีนี้ ฝ่ายที่เรียกร้องจะมีความรู้สึกว่าข้อเรียกร้องของตนไม่ได้รับความสนใจหรือการ
ตอบสนอง จนเกิดเป็นความรู้สึกว่าเป็นฝ่ายแพ้ ซึ่งวิธีการเช่นนี้อาจน าไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น
เรื่อย ๆ เนื่องจากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข
2. การเจรจาต่อรอง (Negotiation) เป็นวิธีการที่คู่พิพาททั้งหมดสมัครใจที่จะแก้ไขปัญหา
ระหว่างกันด้วยการพูดคุยบอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบถึงความต้องการ และประโยชน์ของฝ่ายตน
เจรจาต่อรองแลกเปลี่ยนประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งกันและกัน และตกลงใจร่วมกันในการยุติความขัดแย้ง
เป็นวิธีการที่สะดวก ง่าย ไม่เป็นทางการ และรวดเร็วที่สุดในการแก้ไขความขัดแย้งแต่จะเป็นวิธีการที่