Page 22 - kpi19910
P. 22

12







                               3. มีความสมดุลระหว่างคู่กรณีที่มีความขัดแย้ง โดยคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถได้รับ

                      ประโยชน์ หรือสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเจรจา เพราะมิเช่นนั้นแล้วคู่กรณีฝ่ายนั้นก็จะ
                      พยายามไม่ให้กระบวนการบรรลุผล
                               4. มีองค์กรของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการกับความขัดแย้งนั้น

                               5. องค์กรของรัฐต้องมีทรัพยากรที่เพียงพอในการสนับสนุนกระบวนการ  ไม่ว่าในเรื่อง
                      ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และเวลา


                               ลักษณะของความขัดแย้งที่อาจไม่เหมาะสมกับกระบวนการมีดังนี้ (มนตรี ศิลป์
                      มหาบัณฑิต, 2555)
                               1. ความขัดแย้งมีของเขตที่กว้างขวางเกินกว่าที่จะก าหนดเป็นประเด็น  และผู้มีส่วนร่วมที่

                      เกี่ยวข้องทั้งหมดที่จะต้องเข้าร่วมในกระบวนการจัดการความขัดแย้งได้
                               2. ขอบเขตหรืออ านาจการเจรจามีจ ากัด หรือมีการก าหนดข้อตกลงที่ยากแก่การเจรจาไว้

                      ล่วงหน้า
                               3. เหตุการณ์ความขัดแย้งเป็นกรณีเร่งด่วนจนไม่มีเวลาเพียงพอในการด าเนินกระบวนการ

                               4. คู่กรณีฝ่ายหนึ่งอาจมีอ านาจที่จะได้ข้อยุติที่ต้องการโดยไม่ต้องมีการเจรจาหรือมีทางเลือก
                      ที่ดีกว่าการที่ต้องมาเจรจา
                               5. คู่กรณีฝ่ายหนึ่งหรือหลายฝ่ายเห็นว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้เป็นเรื่องที่จ าเป็นต้องใช้

                      อ านาจศาลในการตัดสินใจมากกว่าที่จะใช้เป็นกระบวนการเจรจา
                               6. คู่กรณีต้องการให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดในประเด็นข้อกฎหมาย หรือต้องการให้เกิดบรรทัดฐาน

                      ส าหรับเรื่องอื่น ๆ
                               7. คู่กรณีที่ไม่มีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมกระบวนการอย่างแท้จริง

                               8. คู่กรณีต้องการที่จะถ่วงเวลาโดยใช้กระบวนการนี้
                               9. ประเด็นความขัดแย้งอาจไม่มีความส าคัญเพียงพอที่คู่กรณีจะใช้เวลาในการเข้าร่วม

                      กระบวนการ
                               10. องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นในกรณีที่ขัดแย้งไม่
                      สามารถจัดการได้ด้วยวิธีการยุติความขัดแย้งแบบมีส่วนร่วมเจ้าหน้าที่ของรัฐควรพิจารณาใช้

                      กระบวนการอื่น เพื่อให้สามารถตัดสินใจส าหรับความขัดแย้งอย่างถูกต้อง กล่าวคือ ในการจัดการกับ
                      ความขัดแย้งซึ่งมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจกระท าได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ หลายวิธี แต่ไม่ว่าจะใช้การ

                      จัดการกับความขัดแย้งในรูปแบบใด ก็จะมีผลสรุปได้สองรูปแบบกล่าวคือ
                               1. ฝ่ายหนึ่งแพ้ฝ่ายหนึ่งชนะ (Win-Lose Situation) เป็นวิธีการที่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้
                      ประโยชน์หรือได้สิ่งที่ต้องการไป ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ (Zero-Sum Game)

                      ซึ่งฝ่ายที่แพ้หรือสูญเสียประโยชน์มักจะไม่พอใจ มีความรู้สึกสูญเสียและขัดข้องใจ จนอาจก่อให้เกิด
                      การแก้แค้นหรือการเอาคืน จนเกิดเป็นความขัดแย้งอื่น ๆ ตามมาอีก ตัวอย่างของการจัดการกับความ
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27