Page 17 - kpi19910
P. 17
7
ซึ่ง Chompunth (2013) ระบุว่า โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ (Mega Project) ที่เกิดจากการพัฒนา
เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมในช่วงที่ผ่านมาของประเทศไทยมักน าไปสู่ปัญหาการจัดสรรทรัพยากร
อย่างไม่เป็นธรรมท าให้ประชาชนในพื้นที่ต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการนั้น ๆ โดย
ปราศจากการดูแลช่วยเหลืออย่างเหมาะสม มีการด าเนินการที่ขาดความโปร่งใสตั้งแต่การอนุมัติ
โครงการโดยที่ประชาชนไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารไปจนถึงการขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการตัดสินใจและการด าเนินโครงการซึ่งไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล จึงนับได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่
ในสังคมไทย
2.3 การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
เนื่องจากความขัดแย้งในสังคมไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ขณะทีพฤติกรรมของคนในสังคม
เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนกติกาทางสังคม วิกฤติเศรษฐกิจปัญหาการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การด าเนินโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ความไม่ไว้วางใจ
ระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก ความขัดแย้งภาย
ภายในประเทศที่มีมากและหลากหลายรูปแบบเป็นสัญญาณบอกเหตุว่า สังคมไทยต้องเร่งรีบ
เตรียมการทบทวนและพัฒนาวิธีจัดการกับความขัดแย้งที่เคยใช้ในอดีต ซึ่งดูจะไม่มีประสิทธิภาพ
พอที่จะท าให้สังคมสงบ เป็นธรรมและอยู่เย็นเป็นสุขทั่วหน้าในปัจจุบัน โดยพบว่าจากข้อมูลของ
นางสาวภัทรานิษฐ์ เยาด า ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (กรมคุ้มครองสิทธิและ
เสรีภาพ, กระทรวงยุติธรรม, 2561) เปิดเผยว่า แนวโน้มสถานการณ์การฟ้องด าเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์
เพื่อระงับการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะในประเทศไทย มีเพิ่มมากขึ้นถึง 151 คดี เฉพาะในปี 2561
มีผู้ถูกด าเนินคดีแล้ว 115 คน จาก 20 คดี โดยลักษณะของคดีจะเป็นการจ ากัดสิทธิเสรีภาพในการ
แสดงความคิดเห็นของประชาชนผ่านกระบวนการทางกฎหมาย
การใช้ความรุนแรงในสังคมจะมีต้นทุนทางสังคมสูง เพราะท าให้เกิดความเกลียดชังและ
ความแตกแยกที่ยากจะสมาน นับเป็นปัญหาความมั่นคงที่ร้ายแรง เพื่อให้มีความพร้อมยิ่งขึ้นในการ
พัฒนาและแสวงหาวิธีจัดการความขัดแย้งที่เหมาะสม จึงเป็นหัวใจส าคัญที่มีผลต่อทิศทางการ
เปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองที่ปรารถนา ดังนั้น ยุทธศาสตร์สันติวิธีเพื่อความมั่นคงของชาติจึงต้อง
ไดรับความสนใจจากทุกฝ่ายและผลักดันให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้เพื่อลดความ
ระส่ าระสายในสังคม และป้องกันการขาดศรัทธาต่อระบบระบอบประชาธิปไตย โดยให้องค์กรรัฐให้
ความส าคัญกับการปฏิบัติตามนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ซึ่งเป็นการน าเสนอ
นวัตกรรมความมั่นคงของชาติที่ให้ความส าคัญในการปกป้องวิถีชีวิตด้วยสายสัมพันธ์ที่เข้มแข็งทั้ง
ระหว่างผู้คนทุกหมู่เหล่าและระหว่างรัฐกับประชาชนด้วยสันติวิธี ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งใน
ปัจจุบัน ลดความขัดแย้งที่ไม่จ าเป็นในอนาคต และเป็นการฟื้นฟูความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อรัฐ
ค าสั่งนี้จะเป็นการเชื่อมโยงแนวทางส าคัญของ “ยุทธศาสตร์สันติวิธีเพื่อความมั่นคงของชาติ” กับ
“นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ที่เน้นการเสริมสร้างพลังความสามัคคีบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของ
ทุกฝ่ายในบรรยากาศของการมีทัศนคติที่ดีห่วงใย เอื้ออาทร ท าให้คนในชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
บนพื้นฐานของความหลากหลายในวิธีคิด วิถีชีวิต และวัฒนธรรม โดยอาศัยจินตนาการและพลังปัญญา
พร้อมเผชิญและเรียนรู้การแกไขปัญหาร่วมกันกัน และไม่ใช้ความรุนแรงต่อกันเมื่อเกิดความขัดแย้ง