Page 12 - kpi19910
P. 12
2
นายกรัฐมนตรีที่ 187/2546, 2546) แม้ภาครัฐจะให้ความส าคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนมา
เป็นเวลาเกือบ 20 ปี แต่เราก็ยังคงเห็นการไม่ยอมรับการคัดค้านการพัฒนาโครงการของรัฐ จาก
ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบอยู่เสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการขนาดใหญ่ ปัญหาในการ
ด าเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนมีทั้งปัญหาจากภาครัฐ และภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็นความไม่
เข้าใจกันในเรื่องรูปแบบและเทคนิคการมีส่วนร่วม ความไม่ไว้วางใจของประชาชนในการด าเนิน
โครงการของรัฐ กลุ่มอิทธิพลที่มีบทบาทสูงในการควบคุมประชาชนในพื้นที่ หรือแม้กระทั่งการที่
หน่วยงานเจ้าของโครงการไม่ให้ความส าคัญที่แท้จริงในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
จัดงบประมาณไม่สอดคล้องกับกิจกรรมที่จะต้องด าเนินการ การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายในการรับฟัง
ความคิดเห็นไม่ครอบคลุมผู้ได้รับผลกระทบที่แท้จริง ตราบใดที่ทั้งภาครัฐและภาคประชาชนยังมองไม่
เห็นถึงประโยชน์และคุณค่าที่แท้จริงของการมีส่วนร่วมของประชาชน ยังไม่เข้าใจกระบวนการของการ
มีส่วนร่วมที่ถูกต้อง และยังคงเห็นประโยชน์ตนเองมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม การด าเนินการมีส่วน
ร่วมของประชาชนของประเทศไทยในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ของรัฐก็จะยังคงอยู่ในวังวนของ
ความขัดแย้ง ต่อต้าน ขัดขวางการพัฒนาทั้ง ๆ ที่บางโครงการหากมีการด าเนินการแล้วจะเกิด
ประโยชน์ต่อสังคมและประชาชนอย่างกว้างขวาง (พิมพ์ใจ ยุทธบรรดล, 2554)
จากปัญหาและความส าคัญดังกล่าวข้างต้น ท าให้ผู้วิจัยเห็นความส าคัญของการส ารวจ
ข้อมูลประเด็นความขัดแย้งจากการด าเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ เพื่อส ารวจและรวบรวม
ข้อมูลประเด็นความขัดแย้งที่เกิดจากหรือมีผลมาจากการด าเนินโครงการพัฒนาต่าง ๆ ตาม
แนวนโยบายของรัฐในทุกภูมิภาคของประเทศ โดยผ่านการเข้าถึง (Appreciation) เข้าใจ
(Understanding) ในสถานการณ์ความขัดแย้งนั้น ๆ และสืบเนื่องจากการศึกษาโครงการฐานข้อมูล
องค์ความรู้การจัดการความขัดแย้งใน 11 จังหวัดภาคใต้ (Conflict Mapping Phase 1) โดยการ
ส ารวจ รวบรวมความขัดแย้งและสถานะปัจจุบันของความขัดแย้ง ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ จ านวน 11
จังหวัด ประเด็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยประมาณ พ.ศ.2554 -2557 และเพื่อต้องการศึกษาเพิ่มเติม
ประเด็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการด าเนินโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐนั้นจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2561 มีความเหมือนหรือความคล้ายคลึงกันของพลวัตความขัดแย้งในพื้นที่ 11 จังหวัดภาคใต้ที่
ผ่านมา และจะน าไปสู่กลยุทธ์การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ที่ประสบความส าเร็จได้
อย่างไร จึงท าการส ารวจข้อมูลประเด็นความขัดแย้งจากการด าเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ
(Conflict Mapping Phase 2) ภาคใต้ เพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่และวิเคราะห์ถึง
สาเหตุของความขัดแย้ง และแนวทางการบริหารความขัดแย้งที่ใช้ในพื้นที่ของภาคใต้เพื่อน าไปสู่การ
เสนอแนะเชิงนโยบายในการบริหารโครงการของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อส ารวจและรวบรวมข้อมูลสถานการณ์และสาเหตุความขัดแย้งโดยเน้นในด้านของ
ความขัดแย้งอันเนื่องมาจากโครงการที่เกิดขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐในพื้นที่ภาคใต้
1.2.2 เพื่อศึกษาแนวทางบริหารความขัดแย้งของโครงการที่เกิดขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐ
ในพื้นที่ภาคใต้