Page 11 - kpi19910
P. 11
บทที่ 1
บทน ำ
1.1 ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของปัญหำ
เนื่องจากความขัดแย้งในสังคมไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากสถานการณ์ความรุนแรงก็ยัง
ปรากฏมาจากการกระท าของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงที่มีอุดมการณ์ต่างจากรัฐ ทั้งความขัดแย้งในเรื่อง
ผลประโยชน์ของกลุ่มอิทธิพล ความคับแค้นจากอารมณ์ ความบาดหมางของคน ต่างศาสนารุนแรงขึ้น
เกิดข้อจ ากัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร และอาจมีการแทรกแซงจากภายนอกประเทศ
มากขึ้น รวมถึงมีปัจจัยเสริมที่เป็นแรงผลักให้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดจากกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงมีแรง
หนุนและมีความเข้มแข็งมากขึ้น ที่ส าคัญ คือ กระแสจากภายนอก เช่น กระแสท้องถิ่นนิยม กระแส
ความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับโลกมุสลิม กระแสสิทธิทางการเมือง สิทธิพลเมือง และสิทธิมนุษยชน
ทั้งเงื่อนไขที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน ทั้งในระดับบุคคล ผู้น า โครงสร้าง และวัฒนธรรม (ส านักงานสภา
ความมั่นคงแห่งชาติ, 2555) โดยสามารถพิจารณาได้จาก มหาดไทย” ท าสถิติ ถูกฟ้องคดีปกครอง ขึ้น
แท่นอันดับหนึ่งทุกปี (2562) ระบุว่า เรื่องที่ฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ตั้งแต่เปิดท าการถึงวันที่ 31
ธันวาคม 2555 คดีที่มีการฟ้องสูงสุด 3 ล าดับแรก คือ คดีที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ฯ จ านวน
14,848 คดี คดีที่เกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ จ านวน 11,121 คดี และคดีที่เกี่ยวกับ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ านวน 10,424 คดี ส าหรับ สถิติคดีสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ศาล
ปกครองได้เปิดแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม
2554 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 มีคดีรับเข้าสู่การพิจารณาในแผนกคดีสิ่งแวดล้อม ทั้งสิ้น 2,801
คดี โดยเป็นคดีในความ รับผิดชอบของแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลปกครองสูงสุด จ านวน 122 คดี
(คิดเป็นร้อยละ 4.36 ของคดีรับเข้าทั้งหมดในแผนกคดีสิ่งแวดล้อม) และคดีในความรับผิดชอบของ
ศาลปกครองชั้นต้น จ านวน 2,679 คดี (คิดเป็นร้อยละ 95.95 ของคดีรับเขาทั้งหมดในแผนกคดี
สิ่งแวดล้อม)
ขณะที่พฤติกรรมของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนกติกา
ทางสังคม วิกฤติเศรษฐกิจปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การด าเนินโครงการ
ขนาดใหญ่ของภาครัฐ ความไม่ไว้วางใจระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของ
สถานการณ์โลก ความขัดแย้งภายในประเทศที่มีมากและหลากหลายรูปแบบเป็นสัญญาณบอกเหตุว่า
สังคมไทยต้องเร่งรีบเตรียมการทบทวนและพัฒนาวิธีจัดการกับความขัดแย้งที่เคยใช้ในอดีต ซึ่งดูจะไม
มีประสิทธิภาพพอที่จะท าให้สังคมสงบ เป็นธรรมและอยู่เย็นเป็นสุขทั่วหน้าในปัจจุบัน การใช้ความ
รุนแรงในสังคมจะมีต้นทุนทางสังคมสูง เพราะท าให้เกิดความเกลียดชังและความแตกแยกที่ยากจะ
สมาน นับเป็นปัญหาความมั่นคงที่ร้ายแรง เพื่อให้มีความพร้อมยิ่งขึ้นในการพัฒนาและแสวงหาวิธี
จัดการความขัดแย้งที่เหมาะสม จึงเป็นหัวใจส าคัญที่มีผลต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงสังคมและ
การเมืองที่ปรารถนา ดังนั้น ยุทธศาสตร์สันติวิธีเพื่อความมั่นคงของชาติจึงต้องได้รับความสนใจจากทุก
ฝ่ายและผลักดันให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้เพื่อลดความระส่ าระสายในสังคม และป้องกัน
การขาดศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตย (นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีตามค าสั่งส านัก