Page 29 - kpi19910
P. 29
19
3.5.2.2 การสนทนากลุ่ม (Focus Group)
1) ประเด็นศึกษา
ศึกษาเชิงนโยบายและเสนอแนะแนวทางการบริหารความขัดแย้งของ
โครงการที่เกิดขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐในพื้นที่ภาคใต้
2) ประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางบริหารความขัดแย้งของโครงการที่เกิดขึ้น
ตามแนวนโยบายของรัฐในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ ตัวแทนภาคประชาชน ตัวแทนผู้น าท้องถิ่น ตัวแทน
ข้าราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น และตัวแทนผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของโครงการใน
พื้นที่ภาคใต้ จ านวน 2 เวที
3) เครื่องมือการวิจัย
เครื่องมือเป็นแบบโครงสร้างค าถามการสนทนากลุ่ม (Focus Group) มี
ลักษณะข้อค าถามที่ครอบคลุมวัตถุประสงค์ในการท าวิจัย และถูกก าหนดไว้พอสังเขปเท่านั้น
(interview Guide) เพื่อเป็นการชักจูงใจให้บุคคลที่เข้าร่วมสนทนาได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็น
ค าถามให้ได้กว้างขวางลึกซึ้ง และละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งการสนทนาจะมีลักษณะเปิดกว้าง
ให้ผู้เข้าร่วมสนทนาแต่ละคนวิพากษ์วิจารณ์ หรือมีข้อสงสัยถามผู้เข้าร่วมสนทนาคนอื่น ๆ หรือตอบข้อ
วิพากษ์นั้น ๆ
นอกจากเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยใช้เครื่องบันทึก
ข้อมูล เช่น การใช้เทปบันทึกเสียง การใช้เครื่องบันทึกภาพ และการจดบันทึกขณะท าการสนทนากลุ่ม
เพื่อให้ได้รายละเอียดข้อมูลมากที่สุดที่จะกระท าได้ รวมทั้งค านึงถึงจรรยาบรรณการวิจัยที่เคร่งครัด
โดยแจ้งให้ทราบว่าจะมีการใช้เครื่องบันทึกข้อมูลดังกล่าว
4) การสร้างเครื่องมือการวิจัย
การสร้างเครื่องมือการวิจัย มีวิธีด าเนินการ ดังนี้
(1) น าแนวค าถามในการสนทนากลุ่มที่มีประเด็นต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น
ไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการสนทนากลุ่ม
(2) ตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม และปรับปรุงแก้ไขก่อนการเก็บ
ข้อมูลจริงกับผู้เกี่ยวข้อง
5) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
โดยท าหนังสือขออนุญาตเพื่อด าเนินการตามขั้นตอน ถึงผู้เกี่ยวข้องและ
หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเป็นการสนทนากลุ่มระหว่าง
ผู้แทนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จ านวนรวมทั้งหมด 10 คน ต่อกลุ่มโซนจังหวัดที่อยู่ด้วยกัน