Page 31 - kpi19910
P. 31
บทที่ 4
ผลการศึกษา
การวิจัยเรื่อง การส ารวจข้อมูลประเด็นความขัดแย้งจากการด าเนินโครงการตาม
แนวนโยบายของรัฐ (Conflict Mapping Phase 2) ภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อส ารวจ
และรวบรวมข้อมูลสถานการณ์และสาเหตุความขัดแย้งโดยเน้นในด้านของความขัดแย้งอันเนื่องมาจาก
โครงการที่เกิดขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐในพื้นที่ภาคใต้ และเพื่อศึกษาแนวทางบริหารความขัดแย้ง
ของโครงการที่เกิดขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐในพื้นที่ภาคใต้ เป็นการส ารวจข้อมูลกรณีศึกษาจ านวน
55 กรณีจาก 11 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่
ตรัง สงขลา และ สตูล โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรณีศึกษาโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐจังหวัดชุมพร
1. ความขัดแย้งการสร้างเขื่อนท่าแซะ อ าเภอท่าแซะ
พื้นที่ : ต าบลสองพี่น้อง อ าเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ประเภทความขัดแย้ง : ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (การบริหารจัดการน้ า)
ระดับการรับรู้ของสังคม : ระดับชาติ มีการรับทราบของสังคมผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
ประเด็นขัดแย้ง :
กรมชลประทานได้ผลักดันด าเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนท่าแซะ จัหวัดชุมพร โดยอ้างว่าเพื่อ
ป้องกันน้ าท่วมจังหวัดชุมพร และจะเอาน้ าไปใช้ในนิคมอุตสาหกรรมบางสะพานจังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์นั้น แต่ชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนท่าแซะ ไม่เห็นด้วยกับ
โครงการดังกล่าวและได้คัดค้านโครงการนี้มาตลอด ทั้งนี้ เหตุผลความเป็นมาและข้ออ้างของกรม
ชลประทานในการด าเนินโครงการไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ปัจจุบันของลุ่มน้ า จึงเกิดการคัดค้าน
โครงการเขื่อนท่าแซะ และขอให้มีการยกเลิกเขื่อนท่าแซะโดยเร็ว
ความเป็นมา :
เขื่อนท่าแซะ เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่บ้านร้านตัดผมต าบลสองพี่น้อง อ าเภอท่าแซะ
จังหวัดชุมพร พื้นที่น้ าท่วมประมาณ 9,800 ไร่ ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 3.3 พันล้านบาท มีผู้
ได้รับผลกระทบประมาณ 400 ครอบครัว มีการศึกษารายงานผลกระทบพร้อมกับเขื่อนรับร่อ เมื่อปี
2536 – 2538 การด าเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนท่าแซะในพื้นที่ อ าเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เป็น
โครงการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและการบริหารจัดการน้ าเพื่อการ
อุปโภคบริโภค และการเกษตร เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดชุมพรได้อย่างสมดุล เมื่อ
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ชาวบ้านท่าแซะ จังหวัดชุมพร ไม่สามารถเดินทางมายื่นหนังสือที่
ท าเนียบรัฐบาลและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ได้ เพราะทหาร บังคับให้คนขับรถขับไปจอด