Page 259 - kpi19903
P. 259

224



                     ดังนั้นจึงตั้งสมมติฐานการวิจัย ดังนี้
                     H3:  ความเป็นเมืองในมุมมองของสถานภาพเศรษฐกิจสังคม และ ความหนาแน่น สัมพันธ์เชิงลบกับ

               สัดส่วนการเลือกพรรคเพื่อไทย

                     H4: ความเป็นเมืองในมุมมองของสถานภาพเศรษฐกิจสังคม และ ความหนาแน่น สัมพันธ์เชิงบวกกับ
               สัดส่วนการเลือกพรรคประชาธิปัตย์



                       14.3.2 ความเป็นภูมิภาคนิยม (Regionalism) และการแบ่งขั้วทางการเมือง
                       ความเป็นภูมิภาคนิยมในการเลือกตั้งเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างชัดเจน พรรคเพื่อ

               ไทยมีฐานเสียงอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์มีฐานเสียงอยู่ที่

               ภาคใต้และเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ผู้คนมักจะลงคะแนนเสียงให้กับผู้แทนที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยเดียวกับตนและ
               ต่อต้านพรรคฝ่ายตรงข้ามเพื่อที่จะเพิ่มอัตลักษณ์ทางสังคมและการเป็นสมาชิกภายในกลุ่ม การศึกษาที่ผ่าน

               มายังพบว่าคนชนบทโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อพยพย้ายเข้ามาหางานท าในกรุงเทพฯ

               มักรู้สึกแปลกแยกจากคนเมือง เนื่องจากมักถูกเรียกว่า คนลาว (ยงยุทธ บุราสิทธิ์, 2556)
                       พรรคเพื่อไทยถูกก่อตั้งและอยู่ภายใต้การบริหารของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นคน

               ภาคเหนือ เขาได้วางนโยบายสาธารณะที่ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อความคิดของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

               นโยบายบัตรประกันสุขภาพ 30 บาท ในปี 2011  ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุผล (Rational Choice
               Theory) สามารถอธิบายการเลือกพรรคการเมืองของคนชนบทได้ว่า ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะพิจารณาพรรค

               การเมืองที่ให้ประโยชน์แก่ตนมากที่สุด นั่นคือพรรคเพื่อไทย พรรคนี้ได้รับความนิยมและความเชื่อใจอย่างมาก

               ในคนที่มีถิ่นอาศัยในชนบทโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                       ในทางกลับกันพรรคประชาธิปัตย์ได้รับการสนับสนุนอย่างมหาศาลจากคนที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยในภาคใต้

               เนื่องมาจากพรรคนี้ถือได้ว่าเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีบทบาทในการเลือกตั้งของประเทศไทยมาอย่าง

               ยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีนายกรัฐมนตรีที่เป็นคนใต้ ความซื่อสัตย์สุจริตและผลงานในการท างานท าให้
               คนใต้รู้สึกภาคภูมิใจกับตัวแทนของตน (Kitiarsa, 2009; จิราภรณ์ ด าจันทร์, 2547) ภาคใต้ถือได้ว่ามีความ

               จงรักภักดี (Brand Loyalty) ต่อพรรคประชาธิปัตย์อย่างมาก เห็นได้จากการไม่เปิดโอกาสให้พรรคอื่นเข้ามามี

               บทบาทในพื้นที่ภาคใต้ยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์  นอกจากนี้แม้ว่าคนใต้จะอพยพเข้าไปหางานท าในกรุงเทพฯ
               แต่พวกเขายังคงสนับสนุนตัวแทนทางการเมืองในถิ่นที่อยู่เดิมของตนเองอย่างเหนียวแน่น ปรากฏการณ์นี้

               เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่นกัน (ยุทธพร อิสรชัย, 2554) ในขณะที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย

               ในเขตเมือง คนส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีอยู่แล้ว ดังนั้นความสามารถของพรรคการเมืองจึงมีผลต่อการ
               ตัดสินใจเลือกผู้แทนมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตนที่คาดว่าจะได้รับ

                    ทฤษฎีหัวใจแห่งดินแดน (Heartland theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีภูมิรัฐศาสตร์ สามารถใช้อธิบายการเลือกตั้ง

               ได้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกรุงเทพฯ เป็นหัวใจส าคัญของประเทศไทย กรณีของภาคตะวันออกเฉียง
               เหนือซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนชนบทมีจ านวนประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากร
   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264