Page 257 - kpi19903
P. 257
222
ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการสร้างตัวชี้วัดความเป็นเมืองโดยครอบคลุมด้านกายภาพ ด้าน
เศรษฐกิจ และด้านสังคม โดยใช้การวิเคราะห์มุขส าคัญ
14.3.2 ควำมเป็นเมืองและพฤติกรรมกำรเลือกตั้ง
การศึกษานี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งในหลายมุมมอง เช่น
การมีส่วนร่วมทางการเมือง การแบ่งขั้วทางการเมือง และความเป็นภูมิภาคนิยม
ควำมเป็นเมืองและกำรมีส่วนร่วมทำงกำรเมือง (Political participation)
การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เป็นตัวชี้วัดความส าเร็จในการ
พัฒนาประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นเครื่องมือในการดึงอ านาจทางการเมืองหรือการเจรจา
ต่อรองทรัพยากรของกลุ่มคนต่างๆในพื้นที่ (Sancton & Zhenming, 2015; Scaff, 1975)
ผลการศึกษาจากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่าบุคคลที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมต่ า มีแนวโน้มที่จะ
มีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าบุคคลที่มีสถานภาพเศรษฐกิจและสังคมสูง (Cutts, Webber, Widdop,
Johnston, & Pattie, 2014; Gimpel, Morris, & Armstrong, 2004; Robert B. Albritton &
Prabudhanitisarn, 1997; ถวิลวดี บุรีกุล & โรเบิร์ต บี อัลบริททัน, 2543a; สติธร ธนานิธิโชติ, 2550a; สุจิต
บุญบงการ & พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, 2527)
นอกจากนี้บุคคลที่มีรายได้น้อยมีแนวโน้มที่จะซื้อสิทธิ์ขายเสียงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาวะเศรษฐกิจ
ถดถอยหรือตกต่ า (Mo, Brady, & Ro, 1991( คนเหล่านี้จะออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งเพื่อหารายได้หรือประโยชน์
เข้าตนเอง โดยไม่ค านึงถึงนโยบายสาธารณะ (Thananithichot, 2012; สุจิต บุญบงการ & พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว,
2527) ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยที่อธิบายว่าคนเมืองจะไม่ค่อยออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
เนื่องจากในชีวิตประจ าวันคนเหล่านี้สามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง จึงไม่เห็นประโยชน์จากการออกไปใช้สิทธิ์
เลือกตั้ง ในขณะที่คนชนบทจะให้ความส าคัญกับการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เนื่องจากคนเหล่านี้ต้องการได้รับ
ผลประโยชน์มากที่สุดจากการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง (เอนก เหล่าธรรมทัศน์, 2556( อย่างไรก็ตามทฤษฎีสอง
นคราประชาธิปไตยถูกท้าทายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันกระแสความคิดแบบเมืองกระจายไปสู่สังคม
ชนบท ท าให้กลุ่มคนเหล่านี้มีความทันสมัยมากขึ้น นอกจากนี้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อเจรจาต่อรองผลประโยชน์
ให้กับตนเองหรือพวกพ้องของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลประโยชน์จากการเลือกตั้ง (ประภาส ปิ่นตบแต่ง,
( 2541
อย่างไรก็ตามการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนที่อาศัยในเขตเมืองมักเกิดความเบื่อหน่ายทางการเมือง
(Political apathy) โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนกรุงเทพฯ เนื่องมาจากการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการ
พัฒนาในด้านต่างๆ ส่งผลให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเมืองรวมถึงการทุจริตได้อย่างง่ายดาย
ดังนั้นทางเลือกใหม่ส าหรับคนเมืองเหล่านี้คือ การไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และ การไม่ประสงค์ลงคะแนน (Owen,
2016; อรรถสิทธิ์ พานแก้ว ,2550) ทั้งนี้คนเมืองอาจยุ่งกับงานในชีวิตประจ าวัน ท าให้ไม่สามารถออกไปใช้สิทธิ์
เลือกตั้ง ในขณะที่คนชนบทมีเวลาว่างท าให้สะดวกแก่การออกไปใช้สิทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเกิดการ