Page 255 - kpi19903
P. 255

220



               2554) ในการศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งที่ผ่านมา ความเป็นเมืองถูกพิจารณาในแง่ของตัวแปรถิ่นที่อยู่อาศัย
               ใน 2 รูปแบบคือ เขตเทศบาล และขอบเขตจังหวัด โดยจังหวัดกรุงเทพฯเป็นตัวแทนของเขตเมือง และจังหวัด

               อื่นๆเป็นตัวแทนเขตชนบท (Thananithichot, 2012; ปราโมทย์ ประสาทกุล, สุรีย์พร พันพึ่ง, & ปัทมา

               ว่าพัฒนวงศ์, 2550)
                    การศึกษานี้จึงพยายามพัฒนาตัวชี้วัดซึ่งมีมุขส าคัญหลายมิติในการวัดความเป็นเมือง โดยใช้เทคนิคทาง

               สถิติการวิเคราะห์มุขส าคัญ (Principle component Analysis: PCA) จัดกลุ่มตัวแปรที่สัมพันธ์กันไว้ด้วยกัน

               แล้วสร้างตัวแปรใหม่ เพื่อเป็นตัวชี้วัดความเป็นเมืองในด้านต่างๆ (Mehaina, El-Bastawissi, & Ayad, 2016)
                    ทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตย เป็นทฤษฎีที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการอธิบายการเมืองของประเทศไทย

               ในปี 2533-2536  กลุ่มคนชนบทซึ่งเป็นฐานเสียงของประเทศ ถูกมองว่าอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ ซื้อสิทธิ์ขาย

               เสียง มองการเลือกตั้งเป็นเพียงเครื่องมือในการหาประโยชน์ ในขณะที่ชนชั้นกลางโดยเฉพาะคนเมือง คือกลุ่ม
               คนที่เลือกผู้แทนจากความสามารถในการบริหารประเทศ ถูกมองว่าเป็น “ฐานนโยบาย” (เอนก เหล่าธรรม

               ทัศน์, 2556) จากทฤษฎีนี้เห็นได้ว่ามีการแบ่งแยกทางการเมืองระหว่างคนเมืองและคนชนบทอย่างเห็นได้ชัด

               ดังนั้นการศึกษานี้จึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง เพื่อให้เข้าใจบริบท
               ของการเมืองไทยมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ความเป็นภูมิภาคนิยมของการเลือกตั้งในประเทศไทยยังคงปรากฏ

               อย่างเห็นได้ชัด ภาคใต้มีแนวโน้มเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในภาคเหนือและภาค

               ตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวโน้มเลือกพรรคเพื่อไทย (อรรถสิทธิ์ พานแก้ว, 2550) การขัดเกลาทางการเมืองและ
               ตัวช่วยที่ท าให้สามารถตัดสินใจภายใต้ข้อมูลที่มีอย่างจ ากัด เช่น ภาพลักษณ์ของพรรคการเมือง มีผลกระทบ

               โดยตรงต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอย่างมาก (ยุทธพร อิสรชัย, 2554) จากทฤษฎีการ

               ตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุผล (Downs, 1957b) เห็นได้ว่าการแบ่งแยกระหว่างชนบท-เมือง และความเป็น
               ภูมิภาคนิยม ยังคงปรากฏอยู่ เนื่องมาจากผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งมีความแตกต่างกันในเรื่องการมีอ านาจทางการเมือง

               เพื่อที่จะได้รับอรรถประโยชน์สูงสุดผ่านการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่ชี้ถึงการแบ่งแยก

               ระหว่างเมืองกับชนบท และการแบ่งแยกระหว่างภูมิภาค ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งในประเทศไทย
                    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  พัฒนาตัวชี้วัดความเป็นเมือง   1  ( 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็น

               เมือง ความเป็นภูมิภาคนิยม กับพฤติกรรมการเลือกตั้ง  การพัฒนาเมืองควรมีการควบคุมเพื่อให้เมืองพัฒนา

               เป็นไปอย่างยั่งยืน และเป็นการลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนต่างๆ (เอนก เหล่าธรรมทัศน์, 2556) มิเช่นนั้น
               ความไม่เท่าเทียมและการแบ่งแยกของกลุ่มคนอาจมีมากขึ้น (Li, Wang, Zhu, & Zhao,  2014(   ผลจาก

               การศึกษานี้สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาเมือง การพัฒนาการเมือง  และเป็นแนวทางในการวางนโยบาย

               ของพรรคการเมือง นอกจากนี้ในเชิงทฤษฎีงานวิจัยนี้ช่วยอธิบายทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยจากเดิมที่
               กล่าวถึงการแบ่งแยกทางเมืองของกลุ่มคนชนบทและเมือง ไปสู่ การแบ่งแยกทางการเมืองแบบภูมิภาคนิยม ซึ่ง

               จะท าให้เข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260