Page 176 - kpi19903
P. 176

148



               10.1 รำยได้และรำยจ่ำยกับผลกำรเลือกตั้งในระดับพื้นที่


                       ข้อมูลค่าเฉลี่ยรายได้ต่อคนต่อเดือน สัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมของรายได้ และสัดส่วนคนจน จาก

               ส านักงานสถิติแห่งชาติปี 2552 และข้อมูลค่าเฉลี่ยรายจ่ายต่อคนต่อเดือน และสัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมของ
               รายจ่าย ข้อมูลจากส านักงานสถิติแห่งชาติปี 2553 (ส านักงานสถิติแห่งชาติ, 2554) โดยที่การวัดความไม่เท่าเทียม

               กันของรายได้หรือรายจ่ายใช้ Gini coefficient โดยกรณีทั่วไปการน าเสนอค่า Gini coefficient จะมีค่าระหว่าง

               0-1 แต่ในที่นี้ค่าจะอยู่ระหว่าง 0-100 ค่าที่มากเข้าใกล้ 100 แปลว่ามีความเหลื่อมล้ าสูงมากในขณะที่ค่าเข้าใกล้ 0
               แสดงว่าไม่มีความเหลื่อมล้ าเลย

                       การน าเสนอผลการวิเคราะห์แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 1) ค่าสถิติเชิงบรรยายของค่าเฉลี่ยรายได้และรายจ่ายใน

               แต่ละเขตเลือกตั้ง 2) ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยรายได้และค่าเฉลี่ยรายจ่ายกับผลการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่ง
               เขตเลือกตั้ง 3) ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยรายได้และค่าเฉลี่ยรายจ่ายกับพฤติกรรมการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และ 4)

               ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยรายได้และค่าเฉลี่ยรายจ่ายกับผลการเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ มีรายละเอียด

               ดังนี้


                       10.1.1 ค่าสถิติเชิงบรรยายของค่าเฉลี่ยรายได้และรายจ่ายในแต่ละเขตเลือกตั้ง

                       เขตเลือกตั้งในปี 2554 มีค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ยรายได้ต่อคนต่อเดือนประมาณ 6,260 บาทต่อคนต่อเดือน
               โดยเขตเลือกตั้งที่มีรายได้สูงจะอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เช่นกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น นอกจากนี้ในภาค

               ตะวันออกและภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรม มีค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อเดือน

               ประมาณ  3,000-6,000 บาท ต่อคน ซึ่งรายจ่ายค่อนข้างมีความผันแปรสอดคล้องกับรายได้คือกลุ่มที่มีรายได้สูงจะ
               มีการใช้จ่ายสูงตามไปด้วย มีสัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมของรายได้ ร้อยละ 39 มีสัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียม

               ของรายจ่ายร้อยละ 28 และมีสัดส่วนคนจนร้อยละ 7 ดังแสดงในตารางที่ 10.1 โดยเขตเลือกตั้งที่ยากจนส่วนใหญ่

               กระจายอยู่ตามจังหวัดแนวชายแดนโดยเฉพาะในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็น
               ต้น ดังรูปที่ 10.1 รูปที่ 10.2 และรูปที่ 10.3


               ตำรำงที่ 10.1 สถิติเชิงบรรยายของค่าเฉลี่ยรายได้และรายจ่ายของประชาชนในแต่ละเขตเลือกตั้ง

                             ตัวแปรอิสระ                   M               SD             Max         Min

                รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อเดือน              6,259.77        2,709.29         2,317.6    14,112
                สัดส่วนคนจน                               7.20            6.04             0.08       40.2

                สัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมของรายได้    39.17            7.08            16.04      58.15

                รายจ่ายเฉลี่ยต่อหัวต่อเดือน             4,688.62        1,751.55         2,026.78  10,127.2
                สัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมของรายจ่าย   28.16            3.49            18.05      42.27
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181