Page 181 - kpi19903
P. 181

153



                       10.1.4 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยรายได้และค่าเฉลี่ยรายจ่ายกับผลการเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชี
               รายชื่อ

                       ส าหรับการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อ พบว่า เขตเลือกตั้งที่มีค่าเฉลี่ยรายได้สูง และมี

               ค่าเฉลี่ยรายจ่ายสูงมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ (r=.16 & .11 ตามล าดับ) และไม่สนับสนุนพรรค
               การเมืองอื่น และเขตเลือกตั้งที่มีสัดส่วนคนจนสูงมีแนวโน้มจะเลือกพรรคภูมิใจไทย (r=.17) ในขณะที่เขตเลือกตั้งที่

               มีสัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมของรายได้สูงมีแนวโน้มจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์แต่ความสัมพันธ์ไม่สูงมากนัก

               (r=.09) และเขตเลือกตั้งที่มีสัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมของรายจ่ายสูงมีแนวโน้มจะเลือกพรรคภูมิใจไทย (r=.13)
               ดังตารางที่ 10.4



               ตำรำงที่ 10.4 ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างรายได้และรายจ่ายกับผลการเลือกตั้งในระดับพื้นที่ ในระบบบัญชีรายชื่อ
                                                   ไม่พิจำรณำควำมสัมพันธ์เชิงพื้นที่   พิจำรณำควำมสัมพันธ์เชิงพื้นที่

                ผลกำรเลือกตั้ง 2554 แบบบัญชี
                                                     เพื่อไทย        ภูมิใจไทย       เพื่อไทย      ภูมิใจไทย
                รำยชื่อ                                      ประชาธิปัตย์    ชาติไทยพัฒนา   ประชาธิปัตย์   ชาติไทยพัฒนา




                ค่าเฉลี่ยรายได้                   - . 36**  .44**   - . 25**  -. 20**  -. 13**  .16**  -. 18**  -. 14*
                สัดส่วนคนจน                       .18**  . -20**   .26**    - . 04   - . 06*  .06*  .17**  . -08
                สัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมของรายได้  -. 16**  .22**   .09   - . 19**  -. 07**  .09**  .07  . -16**

                ค่าเฉลี่ยรายจ่าย                  - . 28**  .36**   - . 27**  -. 19**  -. 09*  .11**  -. 21**  -. 15
                สัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมรายจ่าย   - . 05   .05   .18**   - . 06  . -08**  .04  .13**  . -03

               หมายเหตุ  ** :p<0.01, *p<0.05
                       ส าหรับการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบสัดส่วน/บัญชีรายชื่อ เมื่อพิจารณาแผนภาพการกระจาย พบว่าเขต

               เลือกตั้งที่มีค่าเฉลี่ยรายได้ต่ าจะเลือกพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะเขตเลือกตั้งในภาคเหนือ และภาค
               ตะวันออกเฉียงเหนือ เขตเลือกตั้งที่มีค่าเฉลี่ยรายได้สูงในกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มจะไม่เลือกพรรคเพื่อไทย

               อย่างไรก็ตามพรรคเพื่อไทยก็ยังไม่ได้คะแนนจากเขตเลือกตั้งในภาคใต้ทั้งพื้นที่ที่มีค่าลี่ยรายได้สูงและต่ า ดังรูปที่

               10.6 (ซ้าย) และเขตเลือกตั้งที่มีค่าเฉลี่ยรายได้สูงจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์เช่นเขตเลือกตั้งในภาคกลางและ
               กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้เขตเลือกตั้งในภาคใต้ไม่ว่าจะค่าเฉลี่ยรายได้สูงหรือต่ าก็มีแนวโน้มที่จะเลือกพรรค

               ประชาธิปัตย์ ดังรูปที่ 10.6 (ขวา)

                       แม้ว่าค่าเฉลี่ยรายได้มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกผู้สมัครและพรรคการเมือง แต่ยังพบความเป็นภูมิภาค
               นิยมในการเลือกตั้งของสองพรรคการเมืองใหญ่ ทั้งพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์อย่างชัดเจนอีกด้วย โดย

               ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือแม้ว่าจะมีค่าเฉลี่ยรายได้สูงหรือต่ าก็มีแนวโน้มจะเลือกพรรคเพื่อไทย และ

               ภาคใต้ทั้งเขตเลือกตั้งที่มีค่าเฉลี่ยรายได้สูงและต่ าก็แทบจะไม่เลือกพรรคเพื่อไทยเลย ในขณะที่ผลการเลือกพรรค
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186