Page 184 - kpi19903
P. 184
156
ตำรำงที่ 10.5 ค่าสถิติเชิงบรรยายของร้อยละอาชีพในแต่ละเขตเลือกตั้งปี 2554 จ าแนกตาม ISCO-08
M SD Min Max
ไม่ได้ประกอบอาชีพ 20.96 5.20 5.0 20.96
ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรและการประมง 17.18 12.59 0 52.92
พนักงานบริการและพนักงานขาย 11.39 4.78 0 39.18
อาชีพขั้นพื้นฐานต่าง ๆ 7.48 3.92 0 29.48
ปฏิบัติงานในธุรกิจด้านความสามารถทางฝีมือ 5.90 3.06 0 21.93
ปฏิบัติการเครื่องจักรโรงงานและการประกอบ 4.30 4.25 0 32.40
บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโสและผู้จัดการ 4.19 2.87 0 17.70
ประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ (Professionals) 2.96 2.23 0 15.00
เสมียน 2.42 1.96 0 10.33
ช่างเทคนิคสาขาต่าง ๆ และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ๆ 2.35 2.18 0 10.74
10.2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละอาชีพของประชาชนกับผลการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2554 แบบแบ่ง
เขตเลือกตั้ง
ความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละอาชีพของประชาชนและผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต โดยพิจารณา
ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่พบว่าโดยภาพรวมค่าสหสัมพันธ์มีค่าต่ ามาก (ไม่น้อยกว่า -.1 หรือไม่มากกว่า .1) ยกเว้นร้อย
ละอาชีพเสมียน พนักงานบริการและพนักงานขาย ประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ และ ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้าน
การเกษตรและการประมงที่สัมพันธ์กับร้อยละที่เลือกพรรคเพื่อไทย (r=-.10, -.15, -.11, & .10 ตามล าดับ) ร้อยละ
อาชีพช่างเทคนิคสาขาต่าง ๆ และร้อยละประกอบวิชาชีพสัมพันธ์กับร้อยละที่เลือกพรรคภูมิใจไทย (r=-.14 & -.11
ตามล าดับ) ร้อยละที่ประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ สัมพันธ์กับร้อยละที่เลือกพรรคชาติไทยพัฒนา (r=.10) ซึ่งขอให้ตั้ง
ข้อสังเกตว่าเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ร่วมด้วยแล้วร้อยละอาชีพแทบจะไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกตั้ง
แบบแบ่งเขตเลยดังแสดงในตารางที่ 10.6
เมื่อพิจารณาแผนภาพการกระจายดังรูปที่ 10.8 พบว่า เขตเลือกตั้งที่มีการประกอบอาชีพพนักงานบริการ
และพนักงานขายในร้านค้าและตลาดมีแนวโน้มที่จะไม่เลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย อย่างไรก็ตามยังคงพบความ
เป็นภูมิภาคของการเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีสัดส่วนการ
เลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยที่สูง ในขณะที่เขตเลือกตั้งบริเวณภาคใต้แทบจะไม่เลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
เลยแม้ว่าจะมีสัดส่วนของการประกอบอาชีพดังกล่าวมากหรือน้อยก็ตาม