Page 189 - kpi19903
P. 189
161
10.3.1 ค่าสถิติเชิงบรรยายของร้อยละของสถานภาพการท้างานของประชาชนในแต่ละเขตเลือกตั้ง
จ้าแนกตาม ICSE – 93
ค่าเฉลี่ยของร้อยละของสถานภาพการท างานของประชาชนในแต่ละเขตเลือกตั้งแสดงในตารางที่ 10.9 ซึ่ง
โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละเขตเลือกตั้งมีคนที่มีสถานภาพการท างานแบบการท างานส่วนตัวและท างานให้แก่ครอบครัว
โดยไม่ได้รับค่าจ้างสูงถึงร้อยละ 20.72 และ 10.72 ตามล าดับ รองลงมาเป็นพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 18.47
โดยเฉลี่ยในแต่ละเขตเลือกตั้งเป็นนายจ้างค่อนข้างน้อยเพียงร้อยละ 2.34 โดยเฉลี่ยในแต่ละเขตเลือกตั้งว่างงาน
หรือก าลังมองหางานมีเพียงร้อยละ 0.55 และ 0.39 เท่านั้นซึ่งรวมกันแล้วก็ยังไม่ถึงร้อยละ 1 และตัวแปรที่ไม่ได้
น ามาวิเคราะห์ได้แก่ นักเรียนและเด็ก เนื่องจากยังไม่ได้เป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง สิ่งที่น่าสังเกตคือประเทศไทยน่าจะมี
อัตราการว่างงานต่ าแต่มีอัตราการว่างงานแฝง (Hidden unemployment rate) สูงพอสมควรเนื่องจากท างาน
ส่วนตัวหรือท างานให้แก่ครอบครับโดยไม่ได้รับค่าจ้างหรือแม่บ้านรวมกันถึงร้อยละ 36.79 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้ม
จะมีการว่างงานแฝง
10.3.2 ความสัมพันธ์ระหว่างร้อยละของสถานภาพการท้างานของประชาชนในแต่ละเขตเลือกตั้งกับ
ผลการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2554 แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
เมื่อได้พิจารณาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในการวิเคราะห์ดังแสดงในตารางที่ 10.10 แล้ว พบว่าสถานภาพการท างาน
แทบจะไม่มีความสัมพันธ์กับผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในปี 2554 (ค่าสหสัมพันธ์แทบทั้งหมดมีค่าอยู่
ระหว่าง -.1 ถึง .1) ยกเว้นร้อยละสถานภาพการท างานเป็นพนักงานของรัฐในมีความสัมพันธ์ทางลบกับร้อยละที่
เลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตของพรรคเพื่อไทย แต่สัมพันธ์ทางบวกกับร้อยละที่เลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตของ
พรรคชาติไทยพัฒนา (r=-.11 & .15 ตามล าดับ) และร้อยละของประชาชนที่มีสถานภาพเป็นลูกจ้างเอกชนมี
ความสัมพันธ์ทางลบกับร้อยละของประชาชนที่เลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตพรรคชาติไทยพัฒนา (r= -. 18) และเมื่อ
พิจารณาแผนภาพการกระจายรูปที่ 10.10 พบว่ามีเพียงพนักงานของรัฐในจังหวัดสุพรรณบุรี (รหัส SPB) และบาง
เขตของจังหวัดอ่างทอง (รหัส ATG) และบางเขตของภาคกลางเท่านั้นที่เลือกผู้สมัครจากพรรคชาติไทยพัฒนา
ค่อนข้างสูงมากเกือบถึงร้อยละ 50
ดังนั้น โดยภาพรวมน่าจะสรุปได้ว่าร้อยละของสถานภาพการท างานมีความสัมพันธ์ระดับอ่อนมากกับผล
การเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตในปี 2554