Page 171 - kpi19903
P. 171
143
9 . 4 ระดับกำรศึกษำกับผลกำรเลือกตั้งในระดับบุคคล
นอกจากรายได้ อาชีพ และสถานภาพการท างานของประชาชนเป็นปัจจัยที่อาจจะท าให้เกิดความแตกต่าง
ระหว่างพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงแล้ว ระดับการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่ส าคัญและแสดงถึงทิศทางการ
พัฒนาของประเทศ เนื่องจากหากประชาชนที่มีการศึกษาสูงมักจะมีแนวโน้มที่มีอาชีพและรายได้ต่อหัวที่ค่อนข้าง
สูง ก็น่าจะมีความสัมพันธ์กับผลการเลือกตั้ง
ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มักจบการศึกษาในระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่าเท่านั้น
(ประมาณร้อยละ 63) รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า (ประมาณร้อยละ 20) และเมื่อจ าแนก
ประชาชนที่เลือกผู้สมัครทั้งระบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ มีรูปแบบโครงสร้างของระดับการศึกษาไม่แตกต่างกัน
โดยพบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษาในระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า และระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า
มีสัดส่วนที่จะเลือกพรรคเพื่อไทยมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์และพรรคอื่น ๆ ในขณะที่ประชาชนที่มีระดับ
การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยหรือเทียบเท่า จะมีสัดส่วนการเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยและพรรคอื่น ๆ
ค่อนข้างใกล้เคียงกัน (ประมาณร้อยละ 35) และสุดท้ายนี้ ประชาชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือหรือไม่ได้เรียนหนังสือใน
ระบบ มีสัดส่วนการเลือกพรรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พรรคการเมืองสองพรรคใหญ่มากที่สุด (ร้อยละ 45) รายละเอียดแสดง
ดังตารางที่ 9.4 และรูปที่ 9.3
อย่างไรก็ตามผลการทดสอบด้วย Chi-square test of independence พบว่า ระดับการศึกษาไม่มีความ
เกี่ยวกับพรรคการเมืองที่เลือกในระบบแบ่งเขต แต่ระดับการศึกษาไม่เป็นอิสระกับพรรคการเมืองที่เลือกในระบบ
บัญชีรายชื่อ
ตำรำงที่ 9.4 จ านวน ร้อยละ และการทดสอบความเป็นอิสระระหว่างระดับการศึกษาและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
ในระดับบุคคล
พรรคประชำธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคอื่น ๆ χ p-value
2
กำรลงคะแนนเลือกผู้สมัครในระบบเขต
ระดับประถมหรือเทียบเท่า 262 29% 381 42% 264 29% 11.03 .087
ระดับมัธยมหรือเทียบเท่า 82 28% 138 47% 74 25%
ระดับมหาวิทยาลัยหรือเทียบเท่า 54 29% 71 38% 64 34%
ไม่เคยเรียนหนังสือ 16 27% 18 31% 25 42%
กำรลงคะแนนเลือกผู้สมัครในระบบบัญชีรำยชื่อ
ระดับประถมหรือเทียบเท่า 261 29% 390 43% 257 28% 14.72 .020
ระดับมัธยมหรือเทียบเท่า 89 30% 133 45% 74 25%
ระดับมหาวิทยาลัยหรือเทียบเท่า 52 28% 73 39% 64 34%
ไม่เคยเรียนหนังสือ 14 24% 17 29% 28 47%