Page 173 - kpi19903
P. 173
145
ประเทศต่อไปในระยะยาว ซึ่งในกลุ่มของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นตัวแทนทั้งหมดของประชาชน โดยส่วนใหญ่มี
ระดับการศึกษาสูงสุดเพียงระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า (ร้อยละ 60) รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาหรือ
เทียบเท่า (ร้อยละ 20) และพฤติกรรมการเลือกตั้งในระบบเขตและระบบบัญชีรายชื่อจ าแนกตามระดับการศึกษา
นั้นไม่แตกต่างกัน โดยประชาชนส่วนใหญ่มีแนวโน้มเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยในสัดส่วนที่มากกว่า เมื่อจ าแนก
ลงไปในแต่ระดับการศึกษา พบว่า ในระดับการศึกษาประถมศึกษา มัธยมศึกษา จะมีสัดส่วนเลือกพรรคเพื่อไทย
มากที่สุด (ร้อยละ 40) และรองลงมา คือ พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคอื่น ๆ ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน แต่เมื่อ
ประชาชนมีระดับการศึกษาสูงขึ้น สัดส่วนที่เลือกพรรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สองพรรคการเมืองใหญ่กลับมีมากขึ้น
นอกจากนี้ยังพบว่า ถ้าหากประชาชนไม่มีการศึกษาแล้วประชาชนจะเลือกผู้สมัครที่มาจากพรรคอื่น ๆ มากที่สุดใน
ระบบบัญชีรายชื่อ
ส าหรับปัจจัยสถานภาพการท างานและพฤติกรรมการเลือกตั้ง ใช้ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ถามจาก
ประชาชนหลังการเลือกตั้ง และผลการศึกษาพบว่าประชาชนเลือกพรรคเพื่อไทยเป็นเสียงส่วนใหญ่ ประมาณร้อย
ละ 65 ถึง 70 แต่ถ้าหากเป็นคนที่ว่างงานหรือเกษียณอายุ แม่บ้าน หรือลักษณะการท างานในลักษณะเป็นผู้
ช่วยเหลือคนในครอบครัว จะมีสัดส่วนการเลือกผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยเหลือเพียงร้อยละ 55 โดยประมาณ และ
มีสัดส่วนประชาชนที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันที่ประชาชนที่มีจ านวนชั่วโมงในการท างาน
มากกว่า 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์จะมีแนวโน้มเลือกผู้สมัครที่มาจากประชาธิปัตย์เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น