Page 174 - kpi19903
P. 174

146



                   บทที่ 10 ปัจจัยทำงสังคมและเศรษฐกิจกับผลกำรเลือกตั้ง: กำรวิเครำะห์ระดับเขตเลือกตั้ง


                                                                                                           32
                                                                       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
                                                                                                           33
                                                                                ว่าที่ร้อยตรีหญิงรัชนีพร จันทร์สา

                       สถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจ (Socio-economic status) เป็นตัวแปรที่ใช้อธิบายพฤติกรรมการเมือง

               อย่างแพร่หลาย ผลการวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า ภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมมีผลต่อการลงคะแนน
               เสียงเลือกตั้ง เช่น การศึกษาการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาพบว่าคนที่มีรายได้สูงจะเลือกพรรครีพับลิกัน ส่วนคนที่มี

               รายได้น้อยจะเลือกพรรคเดโมแครต แต่รัฐที่มีฐานะทางการเงินดีมีแนวโน้มจะเลือกพรรคเดโมแครตมากกว่าพรรครี

               พับลิกัน (A Gelman, 2010) ในไทยพบว่ารายได้สัมพันธ์กับระดับความนิยมของพรรคการเมืองและคนที่มีรายได้
               ครอบครัวในระดับต่ ามีแนวโน้มที่จะออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากกว่าคนที่มีรายได้ครอบครัวในระดับสูง (อรรถสิทธิ์

               พานแก้ว, 2556a)

                       ทั้งนี้การศึกษาในประเทศไทยยังพบว่าประชาชนที่มีสถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจดี จะให้ความสนใจต่อ
               การเลือกตั้งน้อยกว่ากลุ่มคนที่ ที่มีสถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจและการศึกษาต่ ากว่า อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนที่มี

               ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมดี จะมีการตัดสินใจทางการเมืองที่มีเหตุผลมากกว่าและออกไปลงคะแนนด้วย

               จิตส านึกทางการเมืองที่สูงกว่า (สติธร ธนานิธิโชติ, 2550b) อย่างไรก็ตามในบางการศึกษากลับพบว่าระดับ
               การศึกษาไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่มีนัยส าคัญทางสถิติกับการออกไปใช้สิทธิ์ทางการเมือง (อรรถสิทธิ์ พานแก้ว,

               2556a) ผลการศึกษาการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 พบว่าประชาชนที่เลือกพรรคเพื่อไทยจะมีการศึกษาที่น้อยกว่า

               (ถวิลวดี บุรีกุล, 2554)
                       ส าหรับความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพกับพฤติกรรมการเมืองและการเลือกตั้ง อาจขึ้นอยู่กับการชูนโยบายหา

               เสียงของแต่ละพรรคด้วย ในสหรัฐอเมริกาพบว่าการมีสัดส่วนผู้ที่ว่างงานสูงขึ้นมีแนวโน้มเลือกผู้สมัครจากพรรครี

               พับลิกันน้อยลง ในขณะที่ผู้ที่ท างานเกี่ยวกับเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม มีแนวโน้มที่จะเลือกผู้สมัครจากพรรครี
               พับลิกันมากกว่า (Wing & Walker, 2010) ผลการศึกษาความนิยมในพรรคการเมืองและหัวหน้าพรรคการเมือง

               พบว่าคนที่มีความนิยมต่อพรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์ คือคนที่ประกอบอาชีพไม่ใช้แรงงานในทางตรงกัน

               ข้ามคนที่ประกอบอาชีพที่ต้องใช้แรงงาน จะไม่ชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์ และนายอภิสิทธิ์ ส าหรับคนที่ชื่นชอบ




               32  ผู้อ านวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล)

               อาจารย์ประจ าสาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริ

               หารศาสตร์
               33  สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ าและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179