Page 169 - kpi19903
P. 169

141



               9.3 สถำนภำพกำรท ำงำนกับผลกำรเลือกตั้งในระดับบุคคล


                       สถานภาพการท างาน เป็นปัจจัยที่บ่งชี้การท างานของประชาชนว่ามีจ านวนชั่วโมงในการท างานในแต่ละ

               สัปดาห์มากน้อยเพียงใด ซึ่งช่วยแสดงให้เห็นถึงการมีกิจกรรมหรือความว่างงานของประชาชน ดังนั้นเมื่อพิจารณา
               ร่วมกับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้ว อาจจะช่วยให้ทราบถึงรูปแบบของพฤติกรรมการลงคะแนนเสียง

               ของประชาชนในแต่ละสถานภาพการท างาน

                       ในการศึกษานี้ใช้ข้อมูลจากแบบสอบถามซึ่งถามตอบก่อนการเลือกตั้งทั้งหมด แต่กำรศึกษำในหัวข้อนี้ใช้
               ข้อมูลจำกแบบสอบถำมที่ถำมประชำชนหลังจำกกำรเลือกตั้ง เนื่องจากในแบบสอบถามก่อนการเลือกตั้งไม่มีการ

               ถามสถานภาพการท างานของประชาชนกับพฤติกรรมการเลือกตั้ง ผลการศึกษาแสดงดังตารางที่ 9.3

                       ในการลงคะแนนเลือกผู้สมัครในระบบเขต ประชาชนส่วนใหญ่เลือกพรรคเพื่อไทย โดยที่ผู้มีงานท า
               มากกว่า 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เลือกพรรคเพื่อไทยมากถึงร้อยละ 72 และเลือกผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ร้อย

               ละ 20 ในขณะที่ประชาชนที่มีสถานภาพการท างานน้อยกว่า 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีพฤติกรรมการเลือกผู้สมัคร

               จากพรรคเพื่อไทยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70 และเลือกผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 24 ส าหรับ
               ประชาชนที่ว่างงาน เกษียณอายุ หรือช่วยงานทางบ้าน เลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยร้อยละ 57 และเลือก

               ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 38

                       ในการลงคะแนนเลือกผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อ ประชาชนส่วนใหญ่เลือกพรรคเพื่อไทย โดยที่ผู้มีงาน
               ท ามากกว่า 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เลือกพรรคเพื่อไทยมากถึงร้อยละ 64 และเลือกผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์

               ร้อยละ 22 ในขณะที่ประชาชนที่มีสถานภาพการท างานน้อยกว่า 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีพฤติกรรมการเลือก

               ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65 และเลือกผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 22 ส าหรับ
               ประชาชนที่ว่างงาน เกษียณอายุ หรือช่วยงานทางบ้าน เลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยร้อยละ 53 และเลือก

               ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 38

                       ผลการทดสอบด้วย Chi-square test of independence พบว่าสถานภาพการท างานไม่เป็นอิสระจาก
               พรรคการเมืองที่เลือกตั้งทั้งในระบบแบ่งเขตและในระบบบัญชีรายชื่อ

                       และเมื่อพิจารณาแผนภาพ Mosaic plot ตามรูปที่ 9.2 จะท าให้เห็นภาพและรูปแบบความสัมพันธ์ของ

               สถานภาพการท างานกับพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะ
               เลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 65 ถึง 70 อย่างไรก็ตาม หากเป็นคนที่ว่างงาน

               หรือเกษียณอายุ แม่บ้าน หรือลักษณะการท างานในลักษณะเป็นผู้ช่วยเหลือคนในครอบครัว จะมีสัดส่วนการเลือก

               ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยเหลือเพียงร้อยละ 55 โดยประมาณเท่านั้น และมีสัดส่วนในกลุ่มประชาชนที่เลือกพรรค
               ประชาธิปัตย์ เพิ่มมากถึงร้อยละ 40 ในขณะเดียวกันที่ประชาชนที่มีสถานภาพการท างานอย่างจริงจังหรือมีจ านวน
   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174