Page 165 - kpi19903
P. 165
137
บทที่ 9 ปัจจัยทำงสังคมและเศรษฐกิจกับพฤติกรรมกำรเลือกตั้ง: กำรวิเครำะห์ระดับบุคคล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
29
30
นายวศิน แก้วชาญค้า
31
นายวีระวัฒน์ พิศฐาน
ในบทนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจกับพฤติกรรมการเลือกตั้งในระดับบุคคล มุ่งเน้น
การหาค าตอบที่เกี่ยวกับรูปแบบหรือลักษณะพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทาง
สถิติทั้งสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่ออธิบาย บรรยาย และสรุปลักษณะของกลุ่มข้อมูลของผู้มี
สิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในระดับ โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานั้นได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลมาจากชุดข้อมูล
(Dataset) การส ารวจความคิดเห็นของประชาชนจากแบบสอบถามเรื่อง “แบบสอบถามความคิดเห็นของ
ประชาชนชาวไทยต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.
2554 (ก่อนการเลือกตั้ง)” ที่ได้จากการส ารวจของสถาบันพระปกเกล้าใน พ.ศ. 2554 โดยมีตัวอย่างทั้งหมด 1,500
คน
ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจที่มุ้งเน้นจะศึกษา ประกอบไปด้วย 1) รายได้เฉลี่ยครัวเรือน 2) อาชีพ 3)
สถานภาพการท างาน และ 4) ระดับการศึกษาสูงสุด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
9.1 รำยได้กับผลกำรเลือกตั้งในระดับบุคคล
ประชาชนหรือนักวิชาการบางกลุ่มมักมีสมมติฐานและความเชื่อที่ว่า รายได้เฉลี่ยของครอบครัวจะมี
ความสัมพันธ์กับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งความคิดดังกล่าวก็เป็นความจริงเพียงส่วนหนึ่ง ใน
ระดับพื้นที่หรือภูมิภาครายได้เฉลี่ยของครัวเรือนจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงหรือการแบ่ง
ข้างทางการเมืองอย่างชัดเจน เห็นได้จากผลการเลือกตั้งส่วนใหญ่ ภาคใต้จะเป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์
ในขณะที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่ของพรรคเพื่อไทยอย่างชัดเจน ซึ่งรายได้เฉลี่ยต่อ
ครัวเรือนของประชาชนในแต่ละภาคนั้นแตกต่างกัน โดยภาคใต้มีภูมิประเทศที่ติดทะเล มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
ที่ค่อนข้างสมบูรณ์กว่า ประชาชนในภูมิภาคดังกล่าวมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเดือนที่สูงกว่าประชาชนในเขตภาคเหนือ
29 ผู้อ านวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล) อาจารย์
ประจ าสาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
30 นักวิจัย ศูนย์คลังปัญญาและสารสนเทศ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
31 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย) คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์